Page 179 - kpi23788
P. 179
บทที่ 4
พื้นที่เผาไหม้ ปี 2566 จากการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม
การติดตามพื้นที่ร่องรอยการเผาไหม้จากไฟป่าโดยใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม Landsat 8-9 และ
Sentinel-2 บันทึกภาพก่อนและหลังเกิดไฟป่า โดยนำมาวิเคราะห์พื้นที่เผาไหม้ (burned area) ด้วยค่าความ
แตกต่างดัชนีการเผาไหม้ (Difference Normalized Burn Ratio: DifNBR) (รายละเอียดตามหัวข้อที่ 1.5.5
บทที่ 1 ) ซึ่งปี 2566 ได้ดำเนินการวิเคราะห์ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัด และทั้งประเทศไทย โดยมีรายละเอียด
ดังนี้
4.1 พื้นที่เผาไหม้สะสมปี พ.ศ. 2566 ในพื้นที่ 17 จังหวัด
4.1.1 พื้นที่เผาไหม้สะสมในภาพรวม
จากการวิเคราะห์พื้นที่เผาไหม้สะสมจากข้อมูลดาวเทียม Landsat 8-9 และ Sentinel-2 ในห้วง
ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 พฤษภาคม 2566 พบว่า ในพื้นที่ 17 จังหวัด มีพื้นที่เผาไหม้สะสมรวมทั้งสิ้น
9,768,928 ไร่ โดยพบมากสุดที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน (1.76 ล้านไร่) รองลงมาคือ จังหวัดตาก (1.41 ล้านไร่)
เชียงใหม่ (1.17 ล้านไร่) ลำปาง (0.76 ล้านไร่) น่าน (0.71 ล้านไร่) และเพชรบูรณ์ (0.63 ล้านไร่) ตามลำดับ
ดังตารางที่ 4.1 และภาพที่ 4.1
6
เมื่อจำแนกพื้นที่เผาไหม้จำแนกตามพื้นที่รับผิดชอบ พบว่าพื้นที่เผาไหม้ส่วนใหญ่ปรากฎในพื้นที่
ป่าอนุรักษ์ (3.95 ล้านไร่) รองลงมาคือ ป่าสงวนแห่งชาติ (3.73 ล้านไร่) และพื้นที่เกษตร (0.58 ล้านไร่)
ตามลำดับ ทั้งนี้ พื้นที่เผาไหม้จำแนกตามข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Existing land use) ของกรมพัฒนา
ที่ดิน ปี 2558-2559 แสดงในตารางภาคผนวก ก-3
6 รายละเอียดของพื้นที่จำแนกตามความรับผิดชอบในบทที่ 2
รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน ปี 2566 โดยใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ 50
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน): สทอภ.