Page 177 - kpi23788
P. 177
เมื่อพิจารณารายประเทศในภาพรวม มีรายละเอียดดังนี้
1) กัมพูชา มีจุดความร้อนสะสม จำนวนทั้งสิ้น 111,806 จุด พบมากสุดในเดือนกุมภาพันธ์
(39,039 จุด) รองลงมา คือ เดือนมีนาคม (37,271 จุด) มกราคม (25,158 จุด) เมษายน (7,107 จุด) และ
พฤษภาคม (3,231 จุด)
2) ลาว มีจุดความร้อนสะสม จำนวนทั้งสิ้น 254,994 จุด พบมากสุดในเดือนมีนาคม (102,769
จุด) รองลงมา คือ เดือนเมษายน (102,475 จุด) กุมภาพันธ์ (29,177 จุด) พฤษภาคม (11,288 จุด) และ
มกราคม (9,285 จุด)
3) เมียนมาร์ มีจุดความร้อนสะสม จำนวนทั้งสิ้น 413,376 จุด พบมากสุดในเดือนเมษายน
(154,115 จุด) รองลงมา คือ เดือนมีนาคม (143,587 จุด) กุมภาพันธ์ (77,227 จุด) มกราคม (24,894 จุด)
และพฤษภาคม (13,553 จุด)
4) เวียดนาม มีจุดความร้อนสะสม จำนวนทั้งสิ้น 45,114 จุด พบมากสุดในเดือนมีนาคม
(15,760 จุด) รองลงมา คือ เดือนเมษายน (13,157 จุด) กุมภาพันธ์ (7,578 จุด) มกราคม (4,612 จุด) และ
พฤษภาคม (4,007 จุด)
เมื่อเปรียบเทียบจุดความร้อนรายเดือนในพื้นที่ CLMV และประเทศไทย พบว่า เมียนมาร์ ลาว
และกัมพูชา มีจำนวนจุดความร้อนสะสมสูงสุดในเดือนเมษายน มีนาคม และกุมภาพันธ์ ตามลำดับในขณะที่
ประเทศไทยมีรูปแบบของการตรวจพบจุดความร้อนคล้ายคลึงกับลาว โดยที่พบสูงสุดในเดือนมีนาคม
เมษายน และกุมภาพันธ์ ตามลำดับ ดังภาพที่ 3.5
ภาพที่ 3.5 กราฟเปรียบเทียบจุดความร้อนสะสมจากดาวเทียม Suomi NPP ระบบ VIIRS จำแนกรายเดือน ปี
2566 ในพื้นที่ CLMV และประเทศไทย
รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน ปี 2566 โดยใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ 48
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน): สทอภ.