Page 173 - kpi23788
P. 173
เมื่อพิจารณารายประเทศในภาพรวม มีรายละเอียดดังนี้
1) กัมพูชา มีจุดความร้อนสะสม 17,739 จุด พบมากสุดในเดือนมกราคม (5,594 จุด) รองลงมา
คือ เดือนมีนาคม (5,301 จุด) กุมภาพันธ์ (5,197 จุด) เมษายน (1,145 จุด) และพฤษภาคม (502 จุด)
2) ลาว มีจุดความร้อนสะสม 71,393 จุด พบมากสุดในเดือนเมษายน (31,674 จุด) รองลงมา
คือ เดือนมีนาคม (28,014 จุด) กุมภาพันธ์ (5,813 จุด) พฤษภาคม (2,963 จุด) และมกราคม (2,929 จุด)
3) เมียนมาร์ มีจุดความร้อนสะสม 65,194 จุด พบมากสุดในเดือนเมษายน (24,866 จุด)
รองลงมา คือ เดือนมีนาคม (23,840 จุด) กุมภาพันธ์ (10,112 จุด) มกราคม (4,259 จุด) และพฤษภาคม
(2,117 จุด)
4) เวียดนาม มีจุดความร้อนสะสม 11,542 จุด พบมากสุดในเดือนเมษายน (3,457 จุด) รองลงมา
คือ เดือนมีนาคม (3,098 จุด) มกราคม (1,896 จุด) กุมภาพันธ์ (1,566 จุด) และพฤษภาคม (1,525 จุด)
เมื่อเปรียบเทียบจุดความร้อนรายเดือนในพื้นที่ CLMV และประเทศไทย พบว่า เดือนมีนาคม
มีจำนวนจุดความร้อนสะสมมากสุดใน 3 ประเทศ คือ ลาว เมียนมาร์ และไทย ตามลำดับ ซึ่งในห้วง 5 เดือน
นี้ ลาวมีจำนวนจุดความร้อนสะสมสูงสุดทั้งเดือนมีนาคมและเมษายน โดยประเทศไทยมีจำนวนจุดความร้อน
อยู่ในลำดับที่ 3 เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ดังภาพที่ 3.2
ภาพที่ 3.2 เปรียบเทียบจุดความร้อนสะสมจากดาวเทียม Terra/Aqua ระบบ MODIS รายเดือน ปี 2566 ใน
พื้นที่ CLMV และประเทศไทย
รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน ปี 2566 โดยใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ 44
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน): สทอภ.