Page 31 - 22221_Fulltext
P. 31

0



               เสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งแนวปะการังไม่สามารถเป็นแหล่งอาหารและบ้านให้แก่
               สัตว์น้ำทางทะเลชนิดอื่นๆ ได้ นอกจากนี้แล้วยังรวมถึงปัญหาขยะตกค้างบนบกและชายหาด
               ท่องเที่ยว

                     แม้ว่าในปี พ.ศ. 2552-2555 องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตมีการบริหารจัดการขยะ

               และมีการดำเนินการจัดสร้างปะการังเทียมมาโดยตลอด แต่ความพยายามดังกล่าวยังไม่
               เพียงพอเนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจ
               ที่ซบเซาจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 รวมทั้งการปิดเมืองเพื่อฟื้นฟูสภาพแหล่งท่องเที่ยว

               องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตจึงอาศัยช่วงเวลาดังกล่าวเร่งดำเนินการอย่างเร่งด่วน
               ในการฟื้นฟูสภาพแนวปะการังด้วยการสร้างแท่งปะการังเทียม เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่ง
               ทะเลให้เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ทะเลและเป็นที่เกาะของตัวอ่อนปะการังเพราะเป็น
               การประดิษฐ์สร้างเลียนแบบบ้านปลาเพื่อให้มีสภาพเหมาะสมกับรูปแบบที่สัตว์น้ำชอบ
               อยู่อาศัย เลียนแบบบริเวณที่มีกองหินใต้น้ำ โดยนำวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน ต้านกระแสน้ำได้

               เช่น ท่อนไม้  ก้อนหิน ยางรถยนต์ ท่อระบายน้ำ ตลอดจนวัสดุคอนกรีตรูปทรงต่างๆ
               ที่ออกแบบและนำไปมัดหรือวางรวมกันเป็นกลุ่ม ดึงดูดสัตว์น้ำให้เข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มพื้นที่
               ยึดเกาะของสิ่งมีชีวิตให้วางไข่และเจริญเติบโตมีโอกาสแพร่พันธุ์มากขึ้น รวมทั้งเป็นสถานที่

               ที่หลบภัย ทั้งนี้โครงการดังกล่าวยังเป็นการสร้างจิตสำนึกและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ
               หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในการดูแลรักษาทรัพยากรทางทะเลที่ได้รับ
               ความเสียหายจากการปกคลุมของขยะและกิจกรรมท่องเที่ยว ที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ การรักษา
               สมดุลของระบบนิเวศทางทะเลให้กลับมาโดยเร็ว การมีส่วนร่วมที่สำคัญในโครงการนี้ คือ
               แนวปะการังเทียมดำเนินการดูแลรักษาโดยชุมชนชาวประมงที่มีความเชี่ยวชาญ มีองค์ความรู้

               ที่สามารถถ่ายทอดวิธีการสร้างแนวปะการังเทียมได้เป็นอย่างดี ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นแกนนำหลัก
               ที่สำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ประโยชน์สำคัญอีกประการ
               ของโครงการนี้คือการสร้างแนวปะการังเทียมนี้กลายเป็นแหล่งศูนย์กลางความอุดมสมบูรณ์

               ทางทะเลให้กับสัตวน้ำและช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนทางประมงอีกด้วย

                     ขั้นตอนการดำเนินการในโครงการดังกล่าว เริ่มต้นด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจาก
               แกนนำ 3 ฝ่ายที่สำคัญ ได้แก่ ชุมชนชาวประมง บุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
               ภูเก็ต ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 2 สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

               ที่ 6 และทีมงานนักดำน้ำจิตอาสาของจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดอื่นๆ เพื่อร่วมกันวางแผน
               เตรียมความพร้อมการดำเนินงานโครงการวางแนวปะการังเทียมและจัดทำแผนการเก็บขยะ
               ใต้ทะเล โดยจัดวางปะการังเทียมในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติสิรินาถ (หาดในยาง) ตำบล




             รางวัลพระปกเกล้า’ 64
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36