Page 30 - 22221_Fulltext
P. 30

2



                       การดำเนินโครงการเกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานหลัก
                  ในการประสานกิจกรรม ผู้บริหารของโรงเรียนกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นแนวทาง
                  ปฏิบัติให้แก่ทุกคนในโรงเรียน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน มีการแบ่งหน้าที่

                  รับผิดชอบในการดำเนินงานอย่างชัดเจนและร่วมผลักดันรายละเอียดเรื่องวิธีการ เป้าหมาย
                  รายละเอียดในแต่ละช่วงเวลาจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งกลุ่มที่เข้ามามีส่วนร่วม
                  ประกอบด้วย เครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชน จำนวน 5 ชุมชน เครือข่ายสิ่งแวดล้อมทั้งภาครัฐและ
                  เอกชน จำนวน 36 เครือข่าย ร่วมกันคิดออกแบบและเลือกกิจกรรมที่จะสร้างแนวทางอย่าง
                  ยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ผ่านการตัดสินใจ

                  จากการประชุม จนในท้ายที่สุดได้เป็นกิจกรรมสำคัญ 5 กิจกรรม โดยทั้งหมดจะเกิดขึ้น
                  ตลอดปีการศึกษา สรุปเป็นแผนภาพการร่วมเรียนรู้ การร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ

                       ผลสัมฤทธิ์และความสำเร็จที่เด่นชัด คือ การที่โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัด
                  ภูเก็ตบ้านนาบอนได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว ประเภทกลุ่มเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม โรงเรียน

                  องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตบ้านนาบอน ครั้งที่ 19 “สร้างต้นแบบพลเมืองสิ่งแวดล้อม”
                  ปี 2019 และได้รับการคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษาต้นแบบด้านการคัดแยกขยะตามโครงการ
                  ชุมชนต้นแบบรักการคัดแยกขยะจากเทศบาลตำบลวิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต และจากการ

                  ดำเนินงานโครงการ ได้รับความสนใจจากสังคม สื่อสาธารณะ รวมทั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้
                  สิ่งแวดล้อมของจังหวัดที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ได้

                  โครงการเก็บขยะใต้ทะเล แหล่งปะการังเทียม


                       องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตเป็นศูนย์กลาง
                  ที่สำคัญด้านการท่องเที่ยวของประเทศและระดับโลก ดังนั้น
                  กิจกรรมท่องเที่ยวทางทะเลจึงเป็นทุนเศรษฐกิจสำคัญของ

                  เมือง และในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาจังหวัด
                  ภูเก็ตเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ปัญหาขยะจึงตามมาจาก
                  การท่องเที่ยวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งในช่วงฤดูท่องเที่ยว
                  องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตพบว่าปัญหาที่สร้าง
                  ความเสียหายอย่างมาก คือ การสูญเสียปะการังใต้ทะเลซึ่งเป็นจุดสำคัญอย่างมากต่อแหล่ง

                  ท่องเที่ยว ปัญหาดังกล่าวเกิดจากแนวปะการังได้รับความเสียหายจากการดำน้ำ มีขยะตกค้าง
                  ในแนวปะการังซึ่งเป็นผลโดยตรงจากกิจกรรมท่องเที่ยว รวมทั้งขยะที่ถูกพัดเข้ามา
                  ของลมทะเลจากแหล่งอื่นทำให้แนวปะการังใต้ทะเลไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ปะการังมีสภาพ





                                                                                 รางวัลพระปกเกล้า’ 64
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35