Page 29 - 22221_Fulltext
P. 29

2



               ส่วนจังหวัดภูเก็ตบ้านนาบอนเป็น 1 ใน 41 สถานศึกษานำร่องมีการเปิดพื้นที่ให้เด็กๆ เรียนรู้
               และทำงานแบบทีม โดยแทรกการเรียนภาคปฏิบัติในทุกชุมนุมของโรงเรียน

                     ความน่าสนใจของโครงการดังกล่าว คือ กระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างองค์การบริหาร
               ส่วนจังหวัดและโรงเรียนที่ต้องการสร้างพลเมืองสิ่งแวดล้อมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โดยการ

               ปลูกฝังให้นักเรียนทุกคนมีความรู้และรู้จักหน้าที่ในการปกป้องดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมภาพรวม
               โดยใช้แนวคิดและหลักการ Eco - School  คือ นโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาและโครงสร้าง
               การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมร่วมกัน เน้นพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา

               กำหนดทิศทางในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบและให้มีการพัฒนาต่อยอด
               ในทุกๆ ปี กำหนดให้มีการสร้างเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา รวมทั้งให้มีหลักสูตรการเรียนรู้
               “หลักสูตรเพิ่มเติมวิชาสิ่งแวดล้อม” ที่ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดปี
               การศึกษาและเชื่อมโยงองค์ความรู้ไปสู่วิถีการดำเนินชีวิตของนักเรียนตั้งแต่ในบ้าน ชุมชนและ
               สังคม


                     แนวคิดดังกล่าวมิได้ตอบโจทย์เพื่อแก้ไขปัญหาด้านขยะในโรงเรียนองค์การบริหาร
               ส่วนจังหวัดภูเก็ตบ้านนาบอนเท่านั้น แต่แนวคิดดังกล่าวมีหัวใจหลักสำคัญที่ต้องการให้
               ความสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนโดยสร้างความรู้ความเข้าใจการบริหาร

               จัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างมีระบบ ตั้งแต่บ้าน โรงเรียน ชุมชนและสังคม ดังนั้น วิธีการที่ดี
               ที่สุด คือ การสร้าง “ต้นแบบพลเมืองสิ่งแวดล้อม” เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการมีส่วนร่วม
               ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในจังหวัดภูเก็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้โรงเรียนเป็นฐาน
               การเรียนรู้ สร้างความตระหนักและส่งเสริมให้นักเรียนเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ

               และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจัดกิจกรรมด้วยกระบวนการเรียนรู้ ให้นักเรียนได้เห็นสภาพปัญหา
               ที่แท้จริง เช่น กิจกรรมแบบบูรณาการ เช่น ศูนย์การเรียนรู้เรื่องธนาคารขยะ การทำปุ๋ย
               จากใบไม้และเศษอาหาร รวมถึงเศษอาหารที่เหลือจากโรงอาหาร นำมาทำเป็นแก๊สชีวภาพ
               ส่วนเรื่องพลังงาน ดำเนินการลงสู่ชุมชน รณรงค์เรื่องการประหยัดค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า โดยให้

               นักเรียน และครูร่วมกันรณรงค์ด้วย ในส่วนพื้นที่สีเขียว มีการปลูกต้นไม้บริเวณโรงเรียน
               ปลูกผักไฮโดรโปนิค ปลูกพืชไร้ดิน พืชสวนครัว และพืชสมุนไพร ซึ่งโครงการ
               ดังกล่าวเป็นโครงการที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดขับเคลื่อนให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม
               ในด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนจากกลุ่มพลเมืองสิ่งแวดล้อมและสามารถนำความรู้

               ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน








             รางวัลพระปกเกล้า’ 64
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34