Page 109 - 22221_Fulltext
P. 109
10
ศูนย์บริการชุมชน DIC : (Drop In Center) เป็นการริเริ่มโครงการใหม่ในเชิงระบบ
ของหน่วยบริการสาธารณสุข จากกระบวนงานเชิงตั้งรับเป็นกระบวนงานเชิงรุก โดยมีภาคี
เครือข่ายความร่วมมือเป็นหุ้นส่วนในการทำงาน เริ่มต้นจากการลงนามบันทึกข้อตกลง
ความร่วมมือและนำไปสู่การปฏิบัติตามภาระหน้าที่ของแต่ละหุ้นส่วนความร่วมมือ ซึ่งมี
เครือข่ายรวม 12 องค์กร ได้แก่ ชมรม Queen จังหวัดขอนแก่น ชมรม MSM เทศบาลเมือง
กาฬสินธุ์ สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ ประธานชุมชนในเขตเทศบาลเมือง
กาฬสินธุ์ ประธาน อสม.ในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ คลินิกเพื่อนใจวัยรุ่นโรงพยาบาล
กาฬสินธุ์ คลินิกวัณโรคและโรคเอดส์โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ เครือข่ายเอดส์อำเภอเมืองและ
อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ วิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์และ
สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ร่วมกันขับเคลื่อนงานจนประสบความสำเร็จในระดับประเทศ
โดยใช้มาตรฐานการจัดรูปแบบกระบวนการดำเนินงานจากองค์กรอนามัยโลก ด้วยชุดบริการ
RRTTR (Stop TB and AIDs through RRTTR (STAR) หรือเรียกเป็นภาษาทางการ คือ
การดำเนินการตามหลักกระบวนการ “การเข้าถึง-เข้าสู่บริการ-ตรวจหา-รักษา-คงอยู่ในระบบ”
โดยผู้รับบริการไม่ต้องไปโรงพยาบาล โดยศูนย์บริการชุมชน DIC มีกลยุทธ์การทำงาน คือ
1) การให้บริการทั้งเชิงรับและเชิงรุกที่เป็นเลิศ - ลงพื้นที่ในการขับเคลื่อนกิจกรรม
ร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้บริการเจาะเลือด ให้คำปรึกษา ให้ความรู้เฉพาะด้าน
เจาะเลือดทราบผลวันเดียว ในสถานที่ต่างๆ ในงานที่สำคัญของจังหวัดกาฬสินธุ์ เช่น
จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้และประชาสัมพันธ์แจกถุงยางอนามัยกับวัยรุ่นในขบวนแห่
ประเพณีวันสงกรานต์ ประเพณีวันลอยกระทง ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา เป็นต้น
2) กลยุทธ์ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย - ผู้ดูแลศูนย์และคณะทำงาน จะลงพื้นที่และ
สร้างแรงจูงใจให้กลุ่มเป้าหมายอยากที่จะรับบริการของศูนย์บริการฯ ในรูปแบบต่างๆ โดย
คณะทำงานจะเป็นแกนนำ MSM จึงรู้แหล่งที่กลุ่มเป้าหมายนัดรวมกลุ่ม เช่น สถานศึกษา
สถานเริงรมย์ ร้านนวดเพื่อสุขภาพ และอื่นๆ ที่แกนนำ MSM ได้นัดกลุ่มเป้าหมาย
หมายเหตุ : MSM คือ กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย
การดำเนินงานภายใต้ศูนย์บริการชุมชน DIC : (Drop In Center) ตลอดระยะเวลา
ที่ผ่านมา พบว่าการดำเนินงานของศูนย์มีพัฒนาการขึ้นเรื่อยๆ ประชาชนในพื้นที่มีความรู้
ความเข้าใจ และให้การยอมรับในกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ซึ่งพัฒนาการต่างๆ ที่กล่าวมา
สะท้อนให้เห็นได้จาก
รางวัลพระปกเกล้า’ 64