Page 29 - 22688_Fulltext
P. 29

3







                       และความต้องการต่าง ๆ ของประชาชนภายในพื้นที่เทศบาลนครเกาะสมุยกลับไม่สามารถด าเนินไปได้

                       อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรมได้ทันต่อสภาพปัญหา ความต้องการ และ

                       ความคาดหวังดังกล่าวของประชาชนภายในพื้นที่เกาะสมุย (สมคิด เลิศไพฑูรย์ และคณะ,  2562,

                       น. 30 – 31)

                                  ด้วยสภาพปัญหา ความต้องการ และความคาดหวังต่าง ๆ ของประชาชนภายในพื้นที่

                       รับผิดชอบของเทศบาลนครเกาะสมุยที่ทวีความรุนแรงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่กลไกการบริหาร

                       ราชการส่วนท้องถิ่นหรือเทศบาลนครเกาะสมุยไม่สามารถด าเนินการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหา

                       ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่เกาะสมุยเพื่อตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของประชาชน

                       ภายในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในส่วนของหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ

                       ที่เกี่ยวข้อง เทศบาลนครเกาะสมุย นักวิชาการ และประชาชนชาวเกาะสมุย จึงมีความพยายาม

                       ร่วมกันในการศึกษาและผลักดันให้เทศบาลนครเกาะสมุยเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบ

                       พิเศษที่มีอ านาจหน้าที่ความรับผิดชอบ งบประมาณ และระบบการบริหารจัดการท้องถิ่นที่แตกต่างไป

                       จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป โดยมีเปูาหมายเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                       รูปแบบพิเศษเกาะสมุยดังกล่าวเป็นต้นแบบของกลไกในระดับท้องถิ่นที่มีส่วนส าคัญอย่างยิ่งในการ

                       ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนภายในพื้นที่เกาะสมุยได้เข้ามามีส่วนร่วม (Public Participation)


                       อย่างต่อเนื่องในการจัดการท้องถิ่นของตน (Local-Self  Government) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การ
                       ด าเนินการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่เกาะสมุยได้อย่างมีประสิทธิภาพและน ามาสู่


                       ประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรมในการตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของประชาชน

                       ภายในท้องถิ่น

                                  อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเกาะสมุยเพื่อเป็น

                       ต้นแบบของการบริหารจัดการท้องถิ่นนั้น นอกจากจะต้องมีการศึกษาถึงสภาพปัญหา ข้อจ ากัด และ

                                                                                                         1
                       แนวทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในปัจจุบันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เกาะสมุย


                              1
                                โปรดดู: การศึกษารูปแบบการบริหารและแนวทางในการพัฒนาพื้นที่เกาะสมุย, โดย
                       ธีร์ เจียศิริพงษ์กุล และคณะ, 2561,  กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์;  การศึกษารูปแบบการ
                       บริหารและแนวทางในการพัฒนาพื้นที่เกาะสมุย,  โดย สมคิด เลิศไพฑูรย์,  ธีร์ เจียศิริพงษ์กุล,  และ

                       ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์, 2562, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี,

                       11(2), 1-55.
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34