Page 28 - 22688_Fulltext
P. 28

2







                       เฉลี่ยต่อครัวเรือนเพียง 45,707 บาท/เดือน (ส านักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ

                       และสังคม, 2563)

                                  ทั้งนี้ ผลจากความเจริญเติบโตและการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่

                       เกาะสมุยที่น าไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรอบด้านที่เกิดขึ้นนั้นกลับสร้างให้เกิดปัญหาและ

                       ผลกระทบต่าง ๆ ในพื้นที่เกาะสมุยหลากหลายประการ อาทิ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหา

                       ด้านสวัสดิการสังคมและคุณภาพชีวิต ปัญหาด้านสาธารณูปโภค ตลอดจนปัญหาด้านโครงสร้าง

                       อ านาจหน้าที่ และงบประมาณของเทศบาลนครเกาะสมุยกับหน่วยงานราชการบริหารส่วนกลางและ

                       ส่วนภูมิภาคในพื้นที่ที่ยังคงขาดการบูรณาการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เหล่านี้ได้กลายเป็นปัญหา

                       ส าคัญที่ส่งผลกระทบต่อทั้งในทางตรงและทางอ้อมต่อการด าเนินวิถีชีวิตของประชาชนชาวเกาะสมุย

                       และยังส่งผลกระทบทางอ้อมต่อผลประโยชน์แห่งชาติและรายได้ของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงมิได้

                       (สมคิด เลิศไพฑูรย์, ธีร์ เจียศิริพงษ์กุล, และ ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์, 2562, น. 30 – 37)

                                  สภาพปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่

                       เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่งผลให้เกิดความจ าเป็นอย่างยิ่งที่ภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

                       “เทศบาลนครเกาะสมุย” ซึ่งเป็นหน่วยงานในระดับท้องถิ่นที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนภายในพื้นที่

                       เกาะสมุยจะต้องเข้ามาเป็นผู้มีบทบาทหลักและมีอ านาจสูงสุดในการขับเคลื่อนการพัฒนาและ


                       ส่งมอบบริการสาธารณะต่าง ๆ ในพื้นที่เกาะสมุยเพื่อตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และความ
                       ต้องการที่หลากหลายของประชาชนชาวเกาะสมุย โดยที่หน่วยงานราชการบริหารส่วนกลางและ


                       หน่วยงานราชการบริการส่วนภูมิภาคควรท าหน้าที่เป็นผู้ให้การสนับสนุนในการด าเนินภารกิจด้านการ

                       พัฒนาและส่งมอบบริการสาธารณะต่าง ๆ ในพื้นที่เกาะสมุย ๆ มากกว่าเป็นหน่วยงานหลักที่จะเข้าไป

                       ด าเนินภารกิจด้านการพัฒนาและส่งมอบบริการสาธารณะต่าง ๆ ในพื้นที่เกาะสมุย ๆ ด้วยตนเอง

                       เฉกเช่นในอดีตที่ผ่านมาตามแนวคิดว่าด้วยการเริ่มต้นที่ท้องถิ่น (Subsidiarity)

                                  หากแต่ในสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันกลับพบว่ากลไกการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

                       ในพื้นที่เกาะสมุยหรือเทศบาลนครเกาะสมุยนั้นกลับขาดอ านาจหน้าที่และระบบการบริหารจัดการ

                       ท้องถิ่นที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาล

                       นครเกาะสมุยที่มีความแตกต่างไปจากขอบเขตพื้นที่ความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                       รูปแบบเดียวกันแห่งอื่น ๆ ที่มีการจัดตั้งขึ้นในระดับท้องถิ่นทั่วประเทศ อันส่งผลให้การขับเคลื่อนการ

                       พัฒนาและส่งมอบบริการสาธารณะต่าง ๆ ในพื้นที่เกาะสมุยเพื่อตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33