Page 27 - 22688_Fulltext
P. 27

1







                                                             บทที่ 1

                                                             บทน า




                       1.1 ที่มาและความส าคัญของปัญหา



                                  “เกาะสมุย (Koh  Samui)” เป็นหนึ่งในหลายเกาะส าคัญของจังหวัดสุราษฎร์ธานี

                       ซึ่งมีพื้นที่ขนาดใหญ่ติดหนึ่งในสามของประเทศไทยรองจากเกาะภูเก็ต (จังหวัดภูเก็ต) และเกาะช้าง

                       จังหวัดตราด (ที่ว่าการอ าเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี,  2562) ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่มีการขยายตัว

                       ทางเศรษฐกิจในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่มาจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เกาะสมุยมี

                       แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีความงดงาม ล้ าค่า และเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลของ

                       ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย (ธีร์ เจียศิริพงษ์กุล และคณะ, 2561, น. 35) ส่งผลให้ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวทั้ง

                       ชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวที่เกาะสมุยเป็นจ านวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

                       ใน พ.ศ.  2561  ที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวเกาะสมุยมากถึง 2,237,202  คน (กระทรวง

                       การท่องเที่ยวและกีฬา,  2562) จนส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเกาะสมุยสามารถสร้าง

                       รายได้ให้กับประเทศไทยได้ปีละไม่ต่ ากว่า 12,000  – 18,000 ล้านบาท หรืออยู่ในล าดับที่ 6 ของ

                       รายได้จากแหล่งท่องเที่ยวทั้งประเทศ (บุญใจ แก้วน้อย, 2558)

                                  ด้วยสภาพความเจริญเติบโตและขยายตัวทางเศรษฐกิจในพื้นที่เกาะสมุยที่เกิดขึ้นมา

                       อย่างต่อเนื่อง จนเข้ามามีผลกระทบต่อการด าเนินวิถีชีวิตของชาวเกาะสมุย ส่งผลให้ชาวเกาะสมุยมี


                       การปรับเปลี่ยนรูปแบบการด าเนินวิถีชีวิตที่มีมาแต่ครั้นบรรพบุรุษให้มีความสอดคล้องกับ
                       ความเจริญเติบโตและการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่เกาะสมุยที่มีการเปลี่ยนแปลงไป


                       อย่างรวดเร็วและรอบด้าน ทั้งจากการเข้ามาของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นจ านวน

                       มากในแต่ละปีจนท าให้เกาะสมุยกลายเป็นท าเลทองของการประกอบธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการ

                       ท่องเที่ยว อาทิ โรงแรม รีสอร์ท บังกะโล สถานบันเทิง ร้านค้า ธุรกิจน าเที่ยว ฯลฯ ซึ่งสามารถสร้าง

                       รายได้ให้ชาวเกาะสมุยเฉลี่ยต่อครัวเรือนได้มากกว่า 50,000 บาท/เดือน (ธีร์ เจียศิริพงษ์กุล และคณะ,

                       2561, น. 36) นับเป็นรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยของคนไทยทั่ว

                       ประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน 26,946 บาท/เดือน และมากกว่ากรุงเทพมหานครที่มีรายได้
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32