Page 190 - 21211_fulltext
P. 190
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
6.4 สรุปท้ายบท
บทเรียนในส่วนนี้สรุปในประการสำคัญดังต่อไปนี้ หนึ่ง ท้องถิ่นขนาดใหญ่และ
ถึงแม้ว่าไม่อยู่ในเงื่อนไขของการควบรวมตามข้อเสนอ สปท. อย่างน้อยจำนวนหนึ่ง
สนใจที่จะควบรวมเข้าด้วยกัน โดยตระหนักถึงการเพิ่มศักยภาพการจัดบริการสาธารณะ
เมื่อขนาดประชากรสูงขึ้น โดยพิจารณาว่า การเป็นองค์กรขนาดใหญ่จะมีบทบาท
การทำงานดีกว่าการเป็นองค์กรขนาดเล็ก อำนาจการต่อรองจะสูงกว่าองค์กรขนาดเล็ก
สอง กรณีสามพื้นที่ในจังหวัดอุบลราชธานีมีปัจจัยสำคัญเกื้อหนุน คือ ความสัมพันธ์
เชิงเครือญาติในกลุ่มผู้นำ ความสัมพันธ์กับนักการเมืองระดับชาติ สาม ผู้บริหารท้องถิ่น
สามารถอธิบายให้ประชาชนเข้าใจคุณประโยชน์จากการควบรวมและการทำงาน
เชิงบูรณาการ (เช่น การแก้ไขปัญหาน้ำเสียไม่สามารถดำเนินการโดยแห่งใดแห่งหนึ่ง)
ซึ่งนำไปสู่การหยั่งเสียงของประชาชน (เมษายน, 2561) ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับ
การควบรวม อันเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นของการควบรวมก่อนจะเสนอให้กระทรวงมหาดไทย
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา สี่ การมองการณ์ไกลถึงการขยายตัวของเมืองออกนอก
เทศบาลนครอุบลราชธานี ซึ่งมองว่าความต้องการบริการสาธารณะจะเพิ่มขึ้นและ
หลากหลาย การเป็น “เทศบาลนคร” จะเพิ่มอำนาจหน้าที่และมีทรัพยากรการเงิน
การคลังรับมือได้ดีกว่า ห้า ผู้บริหารท้องถิ่นเห็นคุณประโยชน์จากการประหยัดจาก
ขนาด ศักยภาพที่จะใช้บุคลากรอย่างเต็มกำลังความสามารถ รวมทั้งลดการจ้าง
บุคลากรส่วนที่เกินกว่าความจำเป็น
สถาบันพระปกเกล้า 1