Page 189 - 21211_fulltext
P. 189
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
6.3.4 แผนจัดการองค์กร ภายหลังการควบรวม
1) ด้านการจัดการหน่วยบริการ
หลังการควบรวมได้วางแผนการจัดหน่วยบริการในรูปแบบ
ศูนย์บริการ โดยสถานที่ตั้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดิมที่ถูกควบรวมจะเป็น
สถานที่ตั้งศูนย์บริการ (หรือเขต) ซึ่งจะทำให้ประชาชนติดต่อได้สะดวกขึ้น (สัมภาษณ์
อิสระพงษ์ แพงไธสงค์ 2561) บุคลากรในการให้บริการยังคงเป็นบุคลากรชุดเดิม
สำหรับหน่วยกำกับดูแลศูนย์บริการจะมีคำสั่งมอบหมายงานให้รองปลัดทำหน้าที่
บริหาร โดยที่เทศบาลตำบลขามใหญ่จะรับผิดชอบการบริหารงานหลัก (สัมภาษณ์
วิชัย อำพันธ์ 2561, สัมภาษณ์ อิสระพงษ์ แพงไธสงค์ 2561) ในส่วนนี้ผู้นำท้องถิ่น
ทั้งสามแห่งพยายามเรียนรู้บทเรียนจากเทศบาลเมืองวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว
2) ด้านบุคลากร
ในระยะเริ่มต้นคาดว่า จำนวนเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นอาจไม่มีเปลี่ยนแปลงมาก นัก อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวคาดว่า จำนวน
บุคลากรจะลดลง เมื่อจำนวนหนึ่งเกษียณ ตำแหน่งว่างลงจะไม่มีการรับบุคคลใหม่
ทั้งนี้เมื่อมีการควบรวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้วอาจมีปัญหาการจัดโครงสร้าง
ของบุคลากร โดยเฉพาะการเข้าสู่ตำแหน่งซึ่งอาจนำไปสู่ความขัดแย้งและความเหลื่อมล้ำ
ได้ซึ่งบุคลากรแต่ละส่วนจะมีความขัดแย้งที่อาจไม่เหมือนกันเช่น สำหรับเจ้าหน้าที่
ที่จะต้องถูกยุบเหลือตำแหน่งเดียวโดยยึดหลักอาวุสโส หมายถึง ปลัดที่อาวุธโสน้อยกว่า
จะถูกปรับลดเป็นรองปลัด อย่างไรก็ตามการเตรียมการเรื่องนี้ขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นคือบุคลากรรับรู้สถานะของตนในอนาคต และบุคลากรที่ไม่ต้องการเข้าสู่
กระบวนการดังกล่าว มีการวางแผนในการเตรียมย้ายไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อื่นเพื่อรักษาตำแหน่งของตนไว้ สำหรับการปกครองท้องที่นั้นกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ยังคงมีอยู่เพียงแต่ไม่อาจนำกฎหมายลักษณะการปกครองท้องที่
ในส่วนว่าด้วยการแต่งตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มาบังคับใช้ได้ (สำนักงานคณะกรรมการ
กฤษฎีกา, 2558) กำนันและผู้ใหญ่บ้านอาจอยู่ในตำแหน่งจนหมดวาระแต่ตำแหน่ง
อาจจะกลายเป็นประธานชุมชน สำหรับบุคลากรด้านฝ่ายบริหารหรือการเมืองนั้น
การเลือกตั้งในครั้งต่อไปจจะใช้การเลืกตั้งแบบแบ่งเขต ทำให้ตัวแทนของพื้นที่มีน้อยลง
และตัวแทนที่ลงสมัครเลือกตั้งอาจต้องเตรียมความพร้อมมากขึ้น
1 สถาบันพระปกเกล้า