Page 84 - kpi21190
P. 84

84



                     คนไทยเหมือนไก่อยู่ในเข่ง จิกตีกันร่ำไป แต่ถึงจิกตีกันเลือดตกยางออกอย่างไร ก็ออก

               จากเข่งไม่ได้ เพราะเข่งเป็นโครงสร้างที่แข็งแรง ความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง
               เป็นโครงสร้างที่แข็งแรง มันจึงออกไม่ได้จากตรงนี้ มีโครงสร้างหลายอย่าง ที่ถักทอเข้ามาเป็น
               เข่งที่ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม อย่างแน่นหนามาก จะกล่าวถึง 5 ประการให้พอเข้าใจได้ง่าย

                      1. วิธีคิดคนไทย สังคมไทยมีปัญหาเรื่องวิธีคิด คิดว่าดี ชั่ว เป็นเรื่องส่วนบุคคล บางทีก็

                         บอกว่าเป็นกรรม แต่ชาติปางก่อนทำให้ยากจนในชาตินี้ ขาดความคิดเชิงโครงสร้าง
                         และระบบ ทั้ง ๆ ที่ในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้า เน้นคิดเชิงเหตุปัจจัย ที่เรียกว่า
                         อิทัปปัจจยตา อะไรเป็นเหตุปัจจัย อะไรทำให้เกิดอะไร

                      2. โครงสร้างจิตสำนึก การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นคน ของคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน

                         สังคมไทยขาดตรงนี้ คนยากจน คนเล็กคนน้อย ไม่มีศักดิ์ศรี

                      3. โครงสร้างทางสังคม สังคมไทยเป็นสังคมทางดิ่ง (vertical society) เป็นความ
                         สัมพันธ์ระหว่างคนมีอำนาจข้างบนกับคนไม่มีอำนาจข้างล่าง โครงสร้างสังคมทางดิ่ง
                         นำไปสู่ความเหลื่อมล้ำ งานวิจัยของ Robert Putnam จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

                         กล่าวถึง ประเทศอิตาลี ตอนเหนือกับตอนใต้ ตอนเหนือเศรษฐกิจ การเมือง
                         ศีลธรรมดี ตอนใต้ตรงข้าม ยากจน มีมาเฟีย ฆ่าหัวคะแนน เนื่องจากโครงสร้าง
                         สังคมของ 2 ภาคนี้ไม่เหมือนกัน ภาคเหนือเป็นโครงสร้างทางราบ หรือ

                         (horizontal society) คนมีความเสมอภาค รวมตัว ร่วมคิดร่วมทำ ในรูปต่าง ๆ
                         เต็มไปหมด เป็นประชาสังคม (civil society) ส่วนข้างล่างเป็นสังคมแนวตั้ง
                         (vertical society)

                      4. โครงสร้างทางเศรษฐกิจ การจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม ธรรมชาติของเงิน

                         มีอำนาจดึงดูด เงินใหญ่ดึงดูดไปจากเงินเล็ก วิจัยโดย Thomas Piketty คนฝรั่งเศส
                         ที่เขียนเรื่อง  “Capital in the Twenty-First Century” รายได้ที่มาจากทุน มันสูง
                         กว่ารายได้ที่เกิดจากการทำงาน

                      5. โครงสร้างอำนาจรัฐ เป็นรัฐรวมศูนย์ในอดีต เคยใช้เพราะความจำเป็น แต่มาบัดนี้

         Keynote Speaker   มวลอำนาจในสังคมไม่สมดุล อำนาจรัฐที่เรียกว่า รัฐานุภาพ กับอำนาจเงินที่เรียกว่า
                         มันไม่สามารถอำนวยความเป็นธรรม อำนาจรัฐ มีอำนาจบังคับตามกฎหมาย
                         มีอำนาจจัดสรรงบประมาณ มีอำนาจทางนโยบาย




               ธนานุภาพ เป็นมวลอำนาจที่ใหญ่มาก  อำนาจสังคมเล็กนิดเดียวเกือบไม่มีอำนาจอะไร
               แนวทางที่เราจะทำ ต้องขยายอำนาจทางสังคมให้ใหญ่ มีอำนาจเสมอกัน กลายเป็นสังคมสมานุภาพ
               อานุภาพเสมอกัน ทั้งภาครัฐ ภาคเงิน ภาคสังคม และเชื่อมโยงกัน ระบบรัฐสามารถนำมา
               เปรียบเทียบกับร่างกายที่สมดุลกล่าวคือ
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89