Page 256 - kpi21190
P. 256
256
สรุปการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21 ประจำปี 2562
st
นอกจากนี้งานเขียน The Political Re-distributive Policy ของ James Robinson 21 Annual King Prajadhipok’s Institute (KPI) Congress 2019
มีข้อสังเกตเกี่ยวกับประชาธิปไตยว่า รัฐประชาธิปไตยมีฐานะที่จะต้องตอบสนองกลุ่มทาง
การเมืองที่สนับสนุนตนเองเสมอ แต่ความแตกต่างคือ ฐานของการสนับสนุนเผด็จการมักจะ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
แคบกว่าฐานที่สนับสนุนรัฐบาลประชาธิปไตย ดังนั้นเราจึงเห็นรัฐที่เป็นประชาธิปไตยจะมี
ผู้สนับสนุนที่กว้างกว่าและตอบสนองต่อปัญหาได้ดีกว่า ต้องตอบสนองต่อผู้คนที่มากขึ้น และ “เพิ่มคุณภาพประชาธิปไตย
แน่นอนว่านโยบายสำหรับคนจนก็ต้องมีมากขึ้น ขณะที่ในประเทศไทยนั้น ได้เกิดระบบ
สวัสดิการขึ้นครั้งแรก ซึ่งยึดโยงกับยุคสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามที่เริ่มสูญเสียอำนาจทาง เพื่อพัฒนาสังคมเสมอภาค”
การเมืองและพยายามหาเครื่องมือที่จะทำให้ตนได้รับคะแนนนิยมมากขึ้น จึงมองไปที่นโยบาย
ระบบประกันสุขภาพในกลุ่มแรงงานและได้รับความนิยมมาก แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่ได้รับ
การพัฒนาต่อ เนื่องด้วยการเข้ามาของเผด็จการในยุคจอมพลสฤษดิ์ ที่ละเลยนโยบายแรงงาน
ดังนั้นประชาธิปไตยจึงเป็นสิ่งที่มีเนื้อหามากกว่าแค่กระบวนการ หากแต่เป็นสิทธิเสรีภาพและ
ความช่วยเหลือของรัฐสู่คนจน
สุดท้ายแล้วเส้นทางประชาธิปไตยไทยยังสะท้อนให้เห็นผ่านดัชนีสัมประสิทธิ์จีนี แม้หาก
มองผิวเผินก็ไม่เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงใด ๆ แต่แท้จริงแล้วกลับเป็นภาพสะท้อนการเมืองไทย
ที่ผ่านการกระจายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจกลับไปตกอยู่กับคนชั้นกลางระดับบนจำนวนมาก
พร้อมกันนั้นคนชั้นล่างและคนชั้นกลางระดับล่างก็ได้ผลประโยชน์น้อยลง อีกทั้งคนที่ทำงาน
ในภาคเกษตรกรรมก็มีโอกาสที่จะประสบปัญหาความยากจนด้วยเช่นกัน
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3