Page 27 - kpi20970
P. 27
รถจักรย�นยนต์ บน “บ�ทวิถี”
คุณมีความรู้สึกอย่างไร?กับรถจักรยานยนต์ที่ขึ้นมาวิ่งบนบาทวิถี ใน
ขณะที่เรากำาลังเดินอยู่ คำาถามที่เกิดขึ้นในใจของใครหลาย ๆ คน
เช่นเดียวกับนักเรียนโรงเรียนราชวินิต มัธยม ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองหลวง
อย่างกรุงเทพมหานคร ที่มักจะประสบปัญหารถจักรยานยนต์ขับขี่บนทางเดินเท้า
และบ่อยครั้งที่มักจะได้ยินเสียงการ “บีบแตรไล่” คนเดิน หรือยืนอยู่บนบาทวิถี
จนทำาให้เกิดข้อสงสัยว่า…
“ตรงนี้คือทางของใครกันแน่?”
จึงเกิดคำาพูดในใจว่า “นี้มันทางเดินเท้าของเรานะ มอเตอร์ไซค์ขึ้นมา
ขับขี่ได้อย่างไร...”
เมื่อกฎบน ’บาทวิถี’ ..มีคน (ขาดสำานึก) จาก 1 คัน เป็น 2 คัน เรื่องเล็กน้อย
ก็กลายเป็นปัญหาได้...
คนเดินบนทางเท้า หรือ “บาทวิถี” ในเมือง “ศิวิไลซ์” อย่างกรุงเทพ
มหานคร แม้ทุกคนจะมองว่าเป็นปกติของการเดินทางในเมืองหลวง ที่ต้องอาศัย
ความรวดเร็ว และความสะดวกสบาย (ซึ่งเป็นความคิดของคนบางกลุ่ม) แต่นั้นก็คือ
ปัญหาของสังคม... พื้นที่ซึ่ง (เกือบจะ) ปลอดภัยของ “คนเดินเท้า” หรือยืนรอ
รถประจำาทาง แต่กลับต้องคอยระวัง และตกเป็นผู้อยู่ในความเสี่ยงต่อการ
ถูกรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชน อันเกิดจากการขาดจิตสำานึก มักง่ายไม่เคารพกฎหมาย
การขับขี่จักรยานยนต์ขึ้นมาวิ่งบนทางเท้า จึงกลายเป็นภาพชินตาให้พบเห็น
ทั่วทุกแห่ง จาก 1 คัน เป็น 2 คัน และกลายเป็นหลาย ๆ คันตามมา จนทำาให้รู้สึก
ไม่ปลอดภัยในการเดินบนทางเท้า หนำาซำ้ายังโดนบีบแตรไล่ขณะเดินอยู่บนทางเท้า
เพื่อให้หลบทางรถของตัวเองอีกต่างหาก ถือเป็นพฤติกรรมที่ทำาผิดซำ้าซาก และ
น่าโมโหจนหลายครั้งมีปากเสียงทะเลาะวิวาทเกิดขึ้น...
22 10 เรื่องเล่า...
โครงการสร้างสำานึกพลเมือง : จากปัญหา สู่ นโยบายสาธารณะ