Page 169 - kpi20902
P. 169
168
“สิ่งหนึ่งที่น่าตกใจของเกษตรกรในต าบลหนองสาหร่าย ก็คือ จากจ านวนประชากร
จ านวน 919 ครอบครัว มีรายได้จากการท าการเกษตรด้วยการปลูกข้าวเป็นพืชหลัก รองลงมา
คือ อ้อยและพืชผักบางส่วน รวมแล้วประมาณ 153 ล้านบาทต่อปี แต่มีรายจ่ายรวมกัน
ไม่ต่ ากว่า 106 ล้านบาท ซึ่งหมวดรายจ่ายที่มาเป็นอันดับหนึ่งของคนในต าบลนี้คือมาจาก
ภาคการเกษตร โดยน าเงินไปซื้อปัจจัยการผลิต ซื้อปุ๋ยเคมี และสารเคมีก าจัดศัตรูพืช รวมกว่า
42 ล้านบาท เป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อว่าต าบลเล็กๆ เพียงแห่งเดียวต้องสูญเสียรายจ่ายไปกับ
ปัจจัยการผลิตพวกปุ๋ยเคมีและสารเคมีมากมายขนาดนี้ ซึ่งรายจ่ายเหล่านี้ก็คือต้นทุนการผลิต
ของเกษตรกรทั้งสิ้น เมื่อต้นทุนการผลิตสูง ก็จ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขายผลผลิตให้ได้ราคาสูง
อย่างข้าวถ้าไม่ได้ตันละ 15,000 บาทก็เดือดร้อน โดยเฉพาะตอนนี้เกษตรกรหลายคนยังไม่ได้
รับเงินจากโครงการจ าน าข้าวต้องเป็นหนี้และทุกข์ใจมากขึ้น”
“ฉะนั้น หนทางรอดในอนาคตจะต้องลดการพึ่งพาสารเคมี เพื่อลดภาระต้นทุนการ
ผลิต มาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้เองจะท าให้ต้นทุนลดลงจากเดิมอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ซึ่งขณะนี้
ได้มีการรวมกลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ทดแทนการใช้สารเคมี เพื่อช่วยกันผลิตปุ๋ยอินทรีย์
คุณภาพสูงโดยใช้สารเร่ง พด.5 ตัว ได้แก่ สารเร่ง พด.1 พด.2 พด.3 พด.9 และพด.12
ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่ผลิตเองได้ ไม่มีอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างแน่นอน
และถ้าในอนาคตข้าวจะขายไม่ได้ราคาตันละ 15,000 บาท แต่เกษตรกรก็ยังอยู่ได้เพราะ
ต้นทุนเราต่ า ทั้งนี้ อยากฝากถึงเกษตรกรให้น้อมน าแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาปรับใช้ในการด าเนินชีวิตและประกอบอาชีพ ซึ่งเชื่อมั่นว่า
จะท าให้มีชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคงและมีความสุข” สัมภำษณ์ นำยบุญมี เนตรสว่ำง หมอดินอำสำ
ประจ ำอ ำเภอพนมทวน วันที่ 18 สิงหำคม 2562
ภาพ 4.15 ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจำกปุ๋ยน้ ำหมักชีวภำพ ของหมู่ที่ 7 บ้ำนหนองแหน