Page 9 - kpi20542
P. 9
บทนำ
บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า
“เหลียวหลัง แลหน้า”
ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
วิลาวัณย์ หงษ์นคร 1
ภายใต้บริบทปัจจุบัน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นหน่วยงาน
หลักในการจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะให้แก่ประชาชน
ในท้องถิ่น กำลังเผชิญกับความท้าทายหลายประการ ความท้าทายหลาย
2
เรื่องเป็นภัยคุกคามที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเตรียมการรับมือหรือ
ลดความเสี่ยง ขณะที่บางเรื่องเป็นทั้งภัยคุกคามหรือโอกาสในการพัฒนา
ขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อมและการบริหารงานเชิงรุก ท่ามกลาง
ความท้าทายเหล่านี้ หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมุ่งหวังที่จะตอบโจทย์
ปัญหาและความต้องการของประชาชนให้ได้อย่างตรงจุด ตรงใจ และ
ทันท่วงที และยืนหยัดที่จะเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนในท้องถิ่น องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นคงไม่สามารถบริหารงานแบบประจำได้อีกต่อไป แต่จะ
ต้องมีการพัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่อง รู้เท่าทันสถานการณ์ ขยายมุมมอง
และปรับกลยุทธ์ในการทำงานให้มีการดำเนินงานเชิงรุก โดยกลไกภายใน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นให้บรรลุเป้าหมาย คือ ภาวะผู้นำ (Leadership)
วัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) และวิธีปฏิบัติขององค์กร
(Organizational Practice)
1 นักวิชาการผู้ชำนาญการ วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า
2 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 250 วรรคหนึ่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่และ
อำนาจดูแลและจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น
ตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น
ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
สถาบันพระปกเกล้า