Page 289 - kpi20542
P. 289

นอกจากนี้เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์เองยังได้รับรางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดีเด่น
                      ด้านสตรีและครอบครัว จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ถึง 7 ปีซ้อน

                      ศพค. ในพื้นที่เทศบาลมีผู้เข้ามาศึกษาดูงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งทางคณะทำงานสามารถบรรยาย
                      และให้ความรู้จากประสบการณ์ตรงได้เอง


                      ปัญหาและอุปสรรค

                            1.  การพูดคุยทำความเข้าใจกับผู้คนที่มีความหลากหลายเป็นเรื่องยาก ซึ่งต้องเริ่มจาก
                      ทีมงานเองที่ต้องมีความเข้าใจที่ตรงกัน ทั้งเป้าหมายและวิธีการปฏิบัติงาน ในส่วนของการสื่อสาร
                      กับคนในชุมชนต้องมีเทคนิคในการพูดให้เข้าใจง่าย และเทคนิคในการทำให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ  “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ

                      ซึ่งกันและกันในการพูดคุยให้ข้อมูล ในบางกรณีจำเป็นต้องมีคนกลางที่อีกฝ่ายเชื่อใจร่วมพูดคุย
                      ด้วย


                            2.  การเข้าถึงกลุ่มคนบางกลุ่ม เพื่อขอความร่วมมือในการช่วยเหลือ ศพค. ซึ่งในส่วนนี้
                      เป็นการสร้างความสัมพันธ์เพื่อหาเครือข่ายในการทำงานเพิ่มขึ้น ทาง ศพค. ต้องเป็นผู้ที่เข้าหาก่อน
                      โดยการใช้เทคนิคที่แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม


                            3.  ตัวเจ้าหน้าที่เองก็ต้องทำงานให้เกิดผลที่ทั่วถึงทุกกลุ่มในชุมชน และทุกคนในกลุ่ม โดยมี
                      มาตรฐานเดียวกันเพื่อสร้างความเชื่อใจระหว่างคณะทำงาน ศพค. กับประชาชนในพื้นที่


                            4.  กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมนั้น ในหลายกรณีอาจไม่สามารถแก้ไขปัญหา
                      ในครอบครัวนั้นได้ ทางคณะทำงานจึงต้องมีความพยายามและดำเนินการพัฒนากลุ่มเป้าหมาย

                      อย่างต่อเนื่อง ไม่ย่อท้อแม้ผลจะไม่ได้เป็นไปตามคาดหวังไว้ทั้งหมด ในบางปีกลุ่มเป้าหมายจึงมีส่วน
                      ที่ซ้ำเดิมปีก่อนหน้า

                      ปัจจัยความสำเร็จ

                            1.  การที่ทางเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์มีต้นทุนทางเครือข่าย ซึ่งทำให้สามารถเข้าถึงโอกาส   กรณีศึกษา: ด้านชุมชนเข้มแข็ง

                      แหล่งงบประมาณ ผู้คนที่มีความรู้ความสามารถ วิทยากร ตลอดจนองค์ความรู้ต่างๆ ที่ช่วยในการ
                      ดำเนินงานของ ศพค. ได้


                            2.  การที่มีจิตอาสา ผู้นำในชุมชนที่มาเป็นคณะทำงานของ ศพค. ซึ่งแต่เดิมชุมชนมีความ
                      เข้มแข็ง และผู้นำรู้จักกับคนในชุมชนและพื้นที่ดีอยู่แล้ว ประกอบกับทางเทศบาลได้ส่งเสริมพัฒนา
                      ความสามารถที่จำเป็นให้กับคณะทำงาน ศพค. อย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้คณะทำงานมีความสามารถ

                      พึ่งพาตัวเองได้ในที่สุด







                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า   2
   284   285   286   287   288   289   290   291   292   293   294