Page 192 - kpi20542
P. 192
ความเป็นมา
“เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล ได้กำหนดนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวตามแผน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัดสตูล พ.ศ.2557-2561 ซึ่งกำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาท้องถิ่น
ไว้ว่า “เมืองท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เกษตรเพิ่มมูลค่า สังคมพัฒนา ก้าวหน้าสู่สากล” องค์การ
บริหารส่วนจังหวัดสตูลจึงร่วมมือกับสถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย (Future Innovative
Thailand Institute : FIT) ภายใต้มูลนิธิควง อภัยวงศ์ ออกแบบอนาคต โดยจัดให้มีการประชุม
เชิงปฏิบัติการ ในกิจกรรม “ออกแบบอนาคตสตูล ปี 2560” ขึ้น เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามามี
ส่วนร่วมในการออกแบบพัฒนาจังหวัดสตูล จากการประชุมดังกล่าว ได้มีการกำหนดแนวทาง
การพัฒนาจังหวัด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการท่องเที่ยว ด้านการศึกษา ด้านสวัสดิการสังคม และ
ด้านการเกษตร ต่อมาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลจึงจัดตั้งสภาการท่องเที่ยวองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดสตูล เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวในจังหวัด ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วม
ในทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม
จังหวัดสตูลมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวทั้งทางทะเลและทางบก อาทิ เกาะหลีเป๊ะ
เกาะตะรุเตา เกาะหินงาม ถ้ำเลสเตโกดอน ถ้ำภูเพชร และการท่องเที่ยวโดยชุมชน ฯลฯ
แต่ปัจจุบันจะได้รับความนิยมเฉพาะการท่องเที่ยวทางทะเล ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวกระแสหลัก
ส่วนการท่องเที่ยวทางบกวิถีชุมชนที่ถือว่าเป็นการท่องเที่ยวกระแสรองยังไม่ค่อยได้รับความสนใจ
อีกทั้งการท่องเที่ยวทางทะเลก็ไม่สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล
จึงได้ก่อจัดตั้งสภาการท่องเที่ยว อบจ.สตูล ขึ้น เพื่อที่จะพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่
จังหวัดสตูล จากปัญหาสถานที่ท่องเที่ยวกระแสรองไม่ได้รับความนิยมนั้น คณะอนุกรรมการสภาฯ
กรณีศึกษา: ด้านการท่องเที่ยว Wonderland 7 วัน มหัศจรรย์สตูล
ได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อสภาการท่องเที่ยวฯ ซึ่งสภาเห็นชอบให้จัดทำโครงการ Satun
กระบวนการดำเนินงาน
จังหวัดสตูลได้ตั้งเป้าหมายที่จะให้นักท่องเที่ยวสามารถท่องเที่ยวในจังหวัดสตูลได้ทั้ง 7 วัน
ตลอดทั้งปี รวมทั้งพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวในจังหวัดให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้น เพื่อให้สามารถ
บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ในการดำเนินการ ซึ่งที่
ผ่านการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวจะดำเนินการโดยภาครัฐเป็นส่วนใหญ่ ผู้ประกอบ
การและภาคเอกชนยังไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมมากนัก อีกทั้งยังไม่มีการกำหนดเป้าหมายในการ
ขับเคลื่อนด้านการท่องเที่ยวร่วมกันที่ชัดเจน ในระยะแรกเริ่มการดำเนินโครงการ satun
wonderland 7 วัน มหัศจรรย์สตูล ยังไม่ได้รับความสนใจและความร่วมมือจากผู้ประกอบการ
ด้านการท่องเที่ยว สภาการท่องเที่ยวฯ จึงได้มีการเชิญผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวมาประชุม
1 สถาบันพระปกเกล้า