Page 103 - kpi20542
P. 103
ในการดำเนินการเกี่ยวกับกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ จังหวัดตราด
นายอธิราชจะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานระหว่างเจ้าของอุปกรณ์ทางการแพทย์หรือกายอุปกรณ์
ที่ชำรุดกับทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดตราดและคณะกรรมการบริหารกองทุน เพื่อสร้าง
ความเข้าใจรวมถึงอธิบายระเบียบต่าง ๆ ให้ชัดเจน
สำหรับระยะเวลาของกระบวนการซ่อม จะขึ้นอยู่กับระดับความชำรุดของอุปกรณ์ทาง
การแพทย์หรือกายอุปกรณ์ที่ส่งมาให้ซ่อม ความพร้อมของอะไหล่ที่จะใช้ซ่อม และระยะเวลา
ในการเบิกจ่ายค่าซ่อมจากกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ จังหวัดตราด ซึ่งในบรรดา
กระบวนการทั้งหมด การหาอะไหล่เป็นอุปสรรคในการดำเนินโครงการนี้ค่อนข้างมาก ท้องถิ่น : “ทบทวน ท้าทาย” เพื่อการจัดบริการสาธารณะ
นายอธิราช (สัมภาษณ์, 22 สิงหาคม 2561) กล่าวว่า อุปกรณ์ทางการแพทย์และ
กายอุปกรณ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นอุปกรณ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งหาอะไหล่มาซ่อม
19
ได้ยาก เนื่องจากเจ้าของอุปกรณ์ในต่างประเทศมักออกแบบอะไหล่ให้มีความเฉพาะตัว มีการ
เปลี่ยนแปลงไปตามรุ่นของอุปกรณ์ และราคาอะไหล่ที่ขายจากบริษัทนำเข้าก็ค่อนข้างสูง ประกอบ
กับในประเทศไทยเองก็หาโรงงานที่สามารถผลิตหรือจำหน่ายอะไหล่ที่สามารถใช้กับอุปกรณ์
ทางการแพทย์และกายอุปกรณ์นำเข้าได้ยาก การสั่งทำอะไหล่เป็นการเฉพาะก็ต้องใช้ต้นทุนสูง
เนื่องจากต้องใช้วัตถุดิบจากหลายเจ้า ใช้เวลาเยอะ และต้องผลิตครั้งหนึ่งเป็นจำนวนมาก ทำให้
ไม่คุ้มทุน
นายอธิราชแก้ปัญหาการขาดแคลนอะไหล่ดังกล่าว ด้วยวิธีการตระเวนหาโรงงานภายใน
ประเทศที่สามารถผลิตอะไหล่ให้ได้ หากไม่พบโรงงานที่สามารถผลิตได้ นายอธิราชและกลุ่มช่าง
โดยเฉพาะปราชญ์ชาวบ้าน จะใช้วิธีดัดแปลงอะไหล่ที่มีอยู่ให้เข้ากับอุปกรณ์ที่ชำรุด หรือใช้วิธี
นำเข้าอะไหล่จากต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีนที่ราคาอะไหล่ค่อนข้างต่ำ และมีความพร้อม
ที่จะเป็นคู่ค้ากับนายอธิราช กรณีศึกษา: ด้านคุณภาพชีวิต : เด็ก เยาวชน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ
19 ประเทศไทยถือเป็นประเทศนำเข้าและส่งออกอุปกรณ์ทางการแพทย์รายสำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยอุปกรณ์ที่นำเข้ามาส่วนใหญ่อยู่ในประเภทครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง มีแหล่งนำเข้าสำคัญคือ
สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และเยอรมนี ในขณะที่อุปกรณ์ทางการแพทย์สำคัญที่ประเทศไทยส่งออกคืออุปกรณ์กลุ่มวัสดุสิ้นเปลือง
ทางการแพทย์ ซึ่งบริษัทส่งออกส่วนใหญ่ก็คือบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนผลิตในประเทศไทยส่งกลับไปขายยังประเทศตนเอง
(นรินทร์ ตันไพบูลย์, 2561, น. 2)
สำหรับแนวโน้มการนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์ของไทยในอนาคต รายงานการศึกษาปี พ.ศ. 2560 ของสำนักงาน
พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่ามีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อมารองรับการขยายตัวของการบริการด้าน
การแพทย์ ในขณะที่การผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ในไทยเองยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร และยังขาดความน่าเชื่อถือจากผู้ใช้
(ฝ่ายวิจัยนโยบาย สวทช., 2560, น. 7 และ 11)
สถาบันพระปกเกล้า