Page 101 - kpi20542
P. 101
สถานที่และทรัพยากรที่ใช้
ศูนย์ซ่อมอุปกรณ์ทางการแพทย์และกายอุปกรณ์ของโครงการ ตั้งอยู่ในโรงจอดรถภายใน
บ้านพักกลางสวนผลไม้ของนายอธิราชเอง โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดตราดเป็นผู้สนับสนุน
งบประมาณส่วนใหญ่ในการดำเนินการ มีบุคลากรประจำศูนย์ ได้แก่ หัวหน้าช่าง รองหัวหน้าช่าง
พนักงานแบ่งตามแผนก และปราชญ์ชาวบ้านที่สามารถซ่อมแซมอุปกรณ์และระบบไฟฟ้าด้วย
อะไหล่ทดแทน ทั้งหมดทำงานในรูปแบบของจิตอาสา มีค่าตอบแทนแบ่งเป็น 1) ค่าแรงวันละ
17
200 บาท สำหรับจิตอาสาที่ต้องการค่าตอบแทน (จิตอาสาอีกส่วนหนึ่ง ไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆ)
2) ค่าแรงที่คำนวณตามระดับความยากของงาน และ 3) ค่าอาหารกลางวันที่นำมาเลี้ยงผู้ที่มาช่วย ท้องถิ่น : “ทบทวน ท้าทาย” เพื่อการจัดบริการสาธารณะ
งาน ซึ่งนายอธิราชทำหน้าที่บริหารจัดการค่าตอบแทนดังกล่าวทั้งหมด (“หนุ่มวิศวะชาวตราด,”
2559)
กระบวนการซ่อมแซมอุปกรณ์ทางการแพทย์และกายอุปกรณ์
ภาพที่ 2 เจ้าหน้าที่จากกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพจังหวัดตราดและ
นายอธิราช อิงประสาร กำลังตรวจสอบและประเมินค่าซ่อมแซมเตียงผู้ป่วยชำรุด.
จาก กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพจังหวัดตราด, 2560,
สืบค้นจาก https://www.facebook.com/profile.php?id=100017957040800 กรณีศึกษา: ด้านคุณภาพชีวิต : เด็ก เยาวชน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ
17 นายอธิราช (สัมภาษณ์, 22 สิงหาคม 2561) กล่าวถึงปราชญ์ชาวบ้านที่เข้ามาช่วยงานในศูนย์ซ่อมแซมอุปกรณ์
ทางการแพทย์และกายอุปกรณ์ว่า เป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีความสามารถด้านการซ่อมแซมอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึงอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ ปราชญ์เหล่านี้มีความเป็น “ช่างโบราณ” ที่มีทักษะพิเศษในการดัดแปลงวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ มาซ่อมแซมได้ ซึ่งใน
ทัศนะของนายอธิราช ถือว่ามีความแตกต่างจากช่างสมัยใหม่ ที่ซ่อมตามที่ได้รับการศึกษามาเท่านั้น หากไม่มีอะไหล่ก็ไม่สามารถ
ซ่อมได้ ซึ่งความเป็น “ช่างโบราณ” ของปราชญ์ชาวบ้าน ทำให้เกิดผลดีในการลดต้นทุนการซ่อมแซมได้ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญ
อย่างหนึ่ง
สถาบันพระปกเกล้า