Page 100 - kpi20542
P. 100

จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้โครงการซ่อมแซมกายอุปกรณ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์เกิดขึ้น
            ท้องถิ่น : “ทบทวน ท้าทาย” เพื่อการจัดบริการสาธารณะ
                  คือการเข้ามามีบทบาทของนายอธิราช อิงประสาร จิตอาสาในพื้นที่ ที่ต้องการนำความรู้และ

                  ทรัพยากรของตนเองเข้ามาแก้ปัญหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ชำรุดล้นเกินดังที่กล่าวไว้

                        นายอธิราช หรือที่เรียกกันในชื่อเล่นว่า เอ เป็นชาวตำบลห้วยแร้ง อำเภอเมือง จังหวัดตราด

                  สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เมื่อปี พ.ศ. 2546 ประกอบ
                  อาชีพของตนเอง พร้อมทั้งช่วยเหลือกิจการสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันของครอบครัว
                  ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่จิตอาสาด้านเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดตราด 15


                        แรงจูงใจที่ทำให้อธิราชเข้ามาแก้ปัญหาดังกล่าว คือ ความต้องการที่จะนำอุปกรณ์ทาง
                  การแพทย์ที่ชำรุดและถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลต่าง ๆ โดยไม่มีการซ่อมแซมใด ๆ มาซ่อม

                  และมอบให้ผู้ป่วยหรือผู้พิการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ นอกจากนั้น นายอธิราชยังเคยให้สัมภาษณ์
                  กับสื่อกระแสหลักช่วงหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชว่า

                  ได้รับแรงบันดาลใจจากความอุตสาหะและเสียสละของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา-
                  ภูมิพลอดุลยเดชที่มีต่อประชาชน (“หนุ่มวิศวะชาวตราด,” 2559)

                        นายอธิราชได้เข้าร่วมงานกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด ผ่านการพูดคุยกับนายวิเชียร

                  ทรัพย์เจริญ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด ซึ่งทั้งสองมองเห็นปัญหาร่วมกัน และ
            กรณีศึกษา: ด้านคุณภาพชีวิต : เด็ก เยาวชน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ
                  ได้วางแผนที่จะจัดตั้งศูนย์ซ่อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยเบื้องต้น นายอธิราชวางแผนว่าจะตั้ง
                  ศูนย์ที่ทำงานภายในเขตพื้นที่ตำบลห้วยแร้ง ซึ่งเป็นพื้นที่ภูมิลำเนาของนายอธิราชเท่านั้น

                  แต่นายวิเชียรเห็นว่า ควรดำเนินการให้ครอบคลุมทั้งจังหวัดโดยนำงบประมาณของกองทุนฟื้นฟู
                                                            16
                  สมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ จังหวัดตราด มาใช้  ซึ่งทางนายอธิราชเห็นด้วย และเป็นที่มาของ
                  การจัดทำ “โครงการซ่อมแซมกายอุปกรณ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์”






                         15   สำหรับตัวอย่างงานจิตอาสาด้านเด็กและเยาวชนของอธิราช ดู ธัญยธรณ์ นาราเต็มทรัพย์, 2561, น. 28-29
                         16   ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและทรัพย์สิน และการจัดทำบัญชี ของกองทุน
                  ฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ จังหวัดตราด พ.ศ. 2556 กำหนดให้ เงินและทรัพย์สินของกองทุนฯ มีที่มาจากสำนักงาน
                  หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ องค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด ชุมชน กองทุนชุมชน ประชาชนที่ใช้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็น
                  ต่อสุขภาพ และผู้บริจาค รวมถึงกิจกรรมของกองทุนที่ทำให้เกิดรายได้ด้วย โดยผู้ที่สามารถรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจาก
                  เงินกองทุนได้มี 2 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ 1) หน่วยบริการ สถานบริการ และสถานบริการทางเลือกในเขตพื้นที่ และ 2) กลุ่มประชาชน
                  องค์กรประชาชน มูลนิธิ และชมรมในเขตพื้นที่ ที่จัดทำกิจกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพ พัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมอาชีพ รายได้ และ
                  การศึกษาแก่กลุ่มเป้าหมายของกองทุน ซึ่งจากการพิจารณาเงื่อนไขดังกล่าว กลุ่มซ่อมแซมอุปกรณ์ทางการแพทย์และกายอุปกรณ์
                  ของนายอธิราช ถือเป็นกลุ่มประชาชนที่สามารถรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากกองทุนนี้ เนื่องจากการซ่อมแซมอุปกรณ์ทาง
                  การแพทย์และกายอุปกรณ์ถือเป็นกิจกรรมที่ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายของกองทุนได้




                      สถาบันพระปกเกล้า
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105