Page 197 - kpi20440
P. 197

การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า    197
                                                                                         ครั้งที่ 20 ประจำาปี 2561
                                                                               ประชาธิปไตยไทย: ก้าวย่างเพื่อการพัฒนา




                  กำรตื่นตัวเพรียกหำคุณภำพสังคม (Social Quality) ในวงวิชำกำรกำรวิจัย

                  กำรพัฒนำและนโยบำยในทวีปยุโรปและเอเชีย


                          คุณภาพสังคม เป็นสิ่งที่หมายรวมถึงคุณภาพชีวิตประจ�าวันของทุกคน ทั้งในเรื่องสังคม เศรษฐกิจ

                  หรือแม้แต่ทางการเมือง และนอกจากจะเป็นของแต่ละปัจเจกชนแล้ว ยังครอบคลุมถึงการมีส่วนร่วมในสังคม
                  การรวมตัวกัน ความสามัคคี เพื่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนและสภาพความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นได้


                          มีผู้ให้ค�าจ�ากัดความค�าว่า “คุณภาพสังคม” ไว้อย่างหลากหลาย UNESCO (1978) กล่าวว่าคุณภาพ
                  สังคม หมายถึง การมีความพึงพอใจในการปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เช่น อาหาร สุขภาพ การศึกษา สิ่งแวดล้อม

                  รายได้ และทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากนี้ Beck และคณะ (1997 อ้างใน สถาบันพระปกเกล้า, 2553)
                  ยังได้แบ่งมิติในการพัฒนาคุณภาพสังคมได้ 4 มิติ ประกอบด้วย 1. ความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ

                  (Socio-economic Security) 2. การยอมรับเป็นสมาชิกในสังคมของบุคคล ทุกกลุ่มในสังคม (Social Inclusion)
                  3. ความสมานฉันท์ในสังคม (Social Cohesion) และ 4. การเสริมสร้างพลังทางสังคม (Social Empowerment)

                  รายละเอียดแต่ละด้านดังต่อไปนี้


                          1. ความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ (Socio-economic Security) หมายถึง การที่ความต้องการ
                  พื้นฐานซึ่งตอบสนองความจ�าเป็นในแต่ละวันได้รับการตอบสนอง โดยเป็นความจ�าเป็นขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

                  และสังคม ได้แก่ การมีที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข การจ้างงานและการตอบสนองทางวัตถุในกรณีอื่นๆ


                          2. ความครอบคลุมทางสังคม (Social Inclusion) เป็นประเด็นที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและ
                  เข้าร่วมเป็นสมาชิกของหน่วยงานหรือองค์กรใดๆ ได้ รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงบริการทางสังคม ทรัพยากร

                  ต่างๆ โดยมีความเสมอภาคและเท่าเทียมในสังคม


                          3. ความสมานฉันท์ในสังคม (Social Cohesion) เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการที่เป็น
                  อุปสรรคหรือลดทอนความเข้มแข็งของความร่วมมือทางสังคม หรือโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม นอกจากนี้

                  ยังหมายถึงสภาพทางสังคมที่เป็นวัตถุ และความมีศักดิ์ศรีของมนุษย์ การยอมรับของคนในสังคม โดยในมิตินี้
                  ประกอบด้วยความเชื่อมั่นไว้วางใจทั่วไป และความไว้ใจเฉพาะบุคคลหรือกลุ่มอีกด้วย


                          4. การเสริมสร้างพลังทางสังคม (Social Empowerment) หมายถึง ศักยภาพที่แสดงให้เห็น

                  และการมีปฏิสัมพันธ์ในสังคม การเสริมสร้างความสามารถเฉพาะบุคคล ศักยภาพในการถ่ายทอดสู่สังคม เช่น
                  การมีองค์ความรู้ การสามารถเข้าสู่ตลาดแรงงาน การแบ่งเวลาให้ชีวิตครอบครัวและงานที่สัมพันธ์กัน โดย

                  เป้าหมายหลักของการเสริมสร้างพลัง คือ การส่งเสริมให้คนสามารถเป็นพลเมืองที่มีศักยภาพและมีอ�านาจที่
                  แท้จริงได้
   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202