Page 80 - kpi20366
P. 80

บทที่ 5


                                            สรุปผลการศึกษา และข้อเสนอแนะ




                       สื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมของเด็กและ

               เยาวชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อสังคมออนไลน์ที่จัดว่าเป็นสื่อใหม่ได้เข้ามาช่วงชิงพื้นที่ข่าวที่เคยถูก

               ผูกขาดมาอย่างยาวนานโดยสื่อกระแสหลัก และยังเป็นพื้นที่ในการแสดงออกและมีส่วนร่วมทางการเมือง

               ที่ส าคัญในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามสื่อสังคมออนไลน์เป็น “ดาบสองคม” ที่อาจส่งผลกระทบในด้านลบต่อ

               ผู้บริโภคข่าวสารหากผู้ใช้ขาดการรู้เท่าทันสื่อ ในขณะที่การคุ้มครองผู้รับสารจากเนื้อหาที่เป็นภัยของสื่อ

               สังคมออนไลน์ก็ท าได้ยากเนื่องจากธรรมชาติของสื่อสังคมออนไลน์เองที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคน

               เป็นผู้ผลิตสื่อ จึงพบเห็นการใช้ถ้อยค าดูหมิ่นผู้ที่มีความเห็นต่างจากตน การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล การ
               ใช้ข้อมูลเท็จเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า ตลอดจนการบิดเบือนข้อมูล ยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง

               เกลียดชังเพื่อประโยชน์ในทางการเมือง


                      ด้วยเหตุนี้ แนวทางการพัฒนาบทบาทสื่อดิจิทัลในการเสริมสร้างประชาธิปไตยและการเมืองภาค

               พลเมืองแนวทางหนึ่ง จึงอาจต้องมุ่งไปที่การปรับปรุงที่ตัวบุคคลผู้เปิดรับหรือผู้บริโภคข่าวสารเองให้

               สามารถใช้วิจารณญาณและสร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเองได้ระหว่างการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ โดยสามารถ

               แยกแยะระหว่างข่าวสารที่เป็นข้อเท็จจริง หรือข้อความชวนเชื่อออกจากกัน และตระหนักรู้ในผลกระทบ
               ของการแสดงความคิดเห็นที่จะเกิดต่อตนเองและสังคม


                      โครงการจึงเล็งเห็นความส าคัญของการพัฒนาตัวชี้วัดเพื่อศึกษาระดับการรู้เท่าทันสื่อสังคม

               ออนไลน์ของเยาวชน เพื่อทราบสถานการณ์ระดับการรู้เท่าทันสื่อของเยาวชนกลุ่มดิจิทัล เนทีฟ ที่เป็น

               กลุ่มมีสัดส่วนการใช้อินเตอร์เน็ตสูงที่สุดและจะเติบโตขึ้นเป็นพลเมืองที่มีบทบาทส าคัญในการพัฒนา

               ประเทศต่อไปในอนาคต

                       การวิจัยเรื่อง “การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชนเพื่อการเป็นพลเมืองในสังคม

               ประชาธิปไตย” มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชนในสังคม

               ประชาธิปไตย โดยที่ “เยาวชน” ในการศึกษาครั้งนี้หมายถึง ผู้ที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี หรือเยาวชนกลุ่ม

               ดิจิทัล เนทีฟ การด าเนินการวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยอาศัยการสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีที่

               เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนากรอบแนวคิดและตัวชี้วัดในการวัดการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชนใน

               สังคมประชาธิปไตย ก่อนน าร่างตัวชี้วัดไปสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญ 8 ท่าน จาก 6 หน่วยงาน/

               องค์กร ซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อดิจิทัล ผู้เชี่ยวชาญ




                                                           71
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85