Page 4 - kpi19910
P. 4
ค
อาศัยกระบวนการยุติธรรมเข้าตัดสิน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้นั้นมีกระบวนการจัดการความขัดแย้ง
ดังนี้
4.1 กระบวนการพูดคุย เจราจา ด้วยสันติ การพูดคุย เจรจาเป็นการรับฟัง และพูดคุย
ระหว่างกันได้ แต่หน่วยงานภาครัฐจะให้ข้อมูลว่าไม่มีอ านาจเพื่อการตัดสินใจยุติโครงการชั่วคราว หรือ
ยกเลิกโครงการแต่สามารถน าข้อทุกข์ร้อนของชาวบ้านที่พูดคุยจัดท ารายงานเสนอต่อรัฐบาลต่อไป
4.2 การยื่นหนังสือต่อผู้มีอ านาจ การใช้วิธีการดังกล่าวนี้มาจากชาวบ้านรวมกลุ่มเพื่อร่วม
คัดค้านจากที่เคยขึ้นป้าย หรือรวมกลุ่มชุมนุมคัดค้าน
4.3 การท าเวทีประชาพิจารณ์ เพื่อการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น เวทีนี้เป็นเวทีแสดง
ความคิดเห็นให้ข้อมูลที่อาจไม่รู้ไม่ทราบ
4.4 การใช้คนกลางเพื่อการแก้ไขปัญหา คนกลางในพื้นที่ภาคใต้ที่พบและมีบทบาทใน
พื้นที่ คือ นักการเมืองท้องถิ่น เป็นคนกลางพูดคุย ช่วยคิด ยื่นแสดงความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหา
4.5 การใช้กระบวนการวิจัยเพื่อการแก้ไขความขัดแย้ง สร้างความร่วมมือเพื่อร่วมแก้ไข
ปัญหาความขัดแย้งร่วมกัน ให้ความส าคัญในการค้นหา สืบสอบข้อมูล พูดคุย แสดงความคิดเห็น
ร่วมกันจากทุกภาคส่วน อาศัยนักวิชาการผู้มีความรู้ร่วมคิด
4.6 การใช้กระบวนการยุติธรรมตัดสิน โดยวิธีการฟ้องร้อง พื้นที่ภาคใต้มีการใช้
กระบวนการยุติธรรมโดยฟ้องร้องให้ศาลตัดสินคดีความ โดยทั้งสองฝ่ายยินยอมที่จะให้มีการฟ้องร้อง
เพราะถือว่ากระบวนการยุติธรรมมีความศักดิ์สิทธิ์
5. ข้อเสนอแนะเพื่อการขับเคลื่อนการแก้ไขความขัดแย้งตามแนวนโยบายภาครัฐพื้นที่
ภาคใต้ จากการศึกษาพบว่า โครงการภาครัฐเป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการที่
เชื่อมโยงสัมพันธ์กับพื้นที่และมาจากแผนการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ โดยแผนพัฒนาพื้นที่ภาคใต้มีการแบ่ง
เขตพื้นที่เป็นพื้นที่ฝั่งอ่าวไทย พื้นที่ฝั่งอันดามัน และพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ซึ่งในภาพรวมเองที่ได้จาก
การศึกษาที่เป็นโครงการตามแนวนโยบายภาครัฐเป็นโครงการพัฒนาภาคใต้ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งการ
พัฒนาพื้นที่ชายแดนสามารถเชื่อมโยงในการพัฒนาประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง เช่น ประเทศมาเลเซีย
ทั้งในด้านคมนาคมขนส่ง และพลังงาน ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรที่มีการลงทุนร่วมกัน ในเบื้องต้น
โครงการตามแนวนโยบายของรัฐเพื่อช่วยให้เกิดการพัฒนาเชิงพื้นที่ และเชื่อมโยงประโยชน์หลายส่วน
ภาครัฐควรด าเนินการในหลายส่วนเพื่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้
5.1 จากการศึกษาพบว่า โครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐย่อมไม่สามารถหลีกเลี่ยง
ผลกระทบที่ส่งผลต่อประชาชนในพื้นที่ได้อย่างแน่นอน ภาครัฐควรมีการประชาสัมพันธ์โครงการ โดย
ให้ความสัมพันธ์ทางด้านจิตใจไม่ให้ประชาชนวิตกกังวลต่อการด าเนินโครงการเพื่อโน้มน้าวให้
ประชาชนเห็นด้วย และหมดความวิตกกังวล เพื่อประชาชนให้การยอมรับกับการพัฒนาของโครงการ
ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ
5.2 จากการศึกษาพบว่า ภาครัฐจะต้องเปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการ
ตัดสินใจโครงการแต่ละโครงการที่ลงไปสู่ชุมชน
5.3 จากการศึกษาพบว่า บุคคลที่มีผลต่อชาวบ้านในพื้นที่ คือ NGOs ข้อมูลที่บุคคล
เหล่านี้สื่อสารกับชาวบ้านจึงได้รับความไว้วางใจ เชื่อถือ ให้เข้ามามีบทบาทรวมถึงเป็นแกนน ากลุ่มใน