Page 3 - kpi19910
P. 3
ข
ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่อย่างชัดเจน ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการสื่อสารเพื่อเกิดความเข้าใจ ไม่
หวาดระแวง เชื่อถือและไว้วางใจต่อกัน
3. อัตลักษณ์ความขัดแย้งตามแนวนโยบายของรัฐในพื้นที่ภาคใต้ พบว่า ความขัดแย้งเป็น
สิ่งที่ยากจะหลีกเลี่ยงให้พ้นไปได้ มีความจ าเป็นต้องเผชิญหน้า และต้องหาสาเหตุ แนวทางเพื่อการ
แก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้นให้บรรเทา ลดน้อย หรือหมดไป ซึ่งต้องให้ความส าคัญต่อการสร้าง
กระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น แต่ในความเป็นจริงโอกาสของ
ประชาชนมีน้อยมากหรือไม่มีเลย และการมีส่วนร่วมที่รู้จักกันดีและประชาชนในชุมชนได้เข้าร่วม คือ
เวทีประชาพิจารณ์ บางครั้งการมีส่วนร่วมนั้นเป็นไปตามกระบวนการของภาครัฐที่ร่วมให้มีการสร้าง
การมีส่วนร่วม แต่ไม่ให้ความสนใจ ความส าคัญกับข้อมูล ความกังวลใจของภาคประชาชนอย่างจริงจัง
สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและน าไปประชาสัมพันธ์ว่าได้เกิดการสร้างความเข้าใจร่วมกันแล้ว และ
สามารถด าเนินโครงการตามแนวนโยบายภาครัฐได้โดยไม่เกิดปัญหาใด ๆ เช่น โครงการสร้างเขื่อน
ท่าแซะ จังหวัดชุมพร โครงการอ่างเก็บน้ าอ่าวใหญ่พร้อมระบบระบายน้ าฯ จังหวัดระนอง และ
โครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ไทย-มาเลเซีย จังหวัดสงขลา เป็นต้น การด าเนิน
โครงการภาครัฐในพื้นที่ภาคใต้มีการด าเนินโครงการที่ก่อเกิดให้มีประเด็นการศึกษาพื้นที่อย่างน่าสนใจ
ในการด าเนินโครงการที่มาจากภาครัฐต้องการ แต่คนในพื้นที่ไม่ต้องการ ท าให้เกิดประเด็นปัญหา
ความขัดแย้ง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการพัฒนาได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่น
อย่างรุนแรงในระดับชาวบ้านที่เป็นคนจนไม่สามารถยังชีพอยู่ได้ โครงการขนาดใหญ่ที่มีการอพยพคน
ออกจากพื้นที่ท ากินได้ก่อให้เกิดการท าลายชุมชนหรือแม้แต่ส่วนที่ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการ
อพยพก็ตาม แต่ได้มีการท าลายและแย่งชิงพื้นที่สาธารณะที่ส าคัญของชุมชน เช่น ป่า ดิน น้ า ที่ดิน
ท ากิน ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรพึ่งพิงส าคัญที่จะท าให้สภาพการด ารงชีวิตของชาวบ้านด ารงอยู่ได้ เพราะ
สภาพการด ารงชีวิตของชาวบ้านต้องอาศัยพื้นที่สาธารณะเหล่านี้ เมื่อมีความเดือดร้อนเกิดขึ้นชาวบ้าน
ได้รวมตัวตอบโต้ในลักษณะต่าง ๆ มีการเผชิญหน้ากันด้วยความรุนแรงและเป็นการต่อสู้ที่ยืดเยื้อเรื้อรัง
รัฐได้ใช้กลไกทางราชการควบคุมลงไปบนชุมชน เช่น กลไกด้านความมั่นคง ด้านการปกครอง
ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อควบคุม และปราบปรามการเคลื่อนไหวของประชาชนก่อให้เกิดความขัดแย้ง
อย่างรุนแรงเพื่อให้การพัฒนาโดยรัฐด าเนินไป
4. กระบวนการจัดการความขัดแย้งในพื้นที่ภาคใต้ พบว่า ความขัดแย้งที่มาจากโครงการ
ภาครัฐคงต้องเป็นความขัดแย้งที่ประชาชนผู้ไร้อ านาจไม่อยากขัดแย้งด้วยอย่างแน่นอน เพราะคิดว่าคง
ไม่มีอ านาจในการแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงสิ่งที่รัฐคิดและตัดสินใจกระท า เพราะรัฐมีแหล่งทรัพยากร
มากมายที่ใช้ช่วยในการตัดสินใจ และคงเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องและมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
เพื่อด าเนินการอย่างรอบด้านแล้ว แต่ในความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้น โครงการตามแนวนโยบายภาครัฐ
ที่เรารู้จักกันดีว่า “เม็กกะโปรเจ็ค” เป็นโครงการที่ที่ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน แต่เมื่อชาวบ้านในพื้นที่รู้
เรื่องกลับต่อต้านคัดค้านทั้งในระดับไม่มีความเสียหาย มีความเสียหาย และไปสู่ความรุนแรง เสียหาย
ทั้งร่างกายและทรัพย์สิน แต่ชาวบ้านยังไม่ยอมถอยจนกว่าภาครัฐจะยอมถอย หรือยกเลิกโครงการ
จึงท าให้เกิดปัญหาความขัดแย้งเรื่อยมา ซึ่งความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้นได้มีความพยายามจัดการให้
คลี่คลายลงด้วยกระบวนการต่าง ๆ มากมาย ทั้งกระบวนการในระดับเบาไปจนถึงกระบวนการที่ต้อง