Page 2 - kpi19910
P. 2
บทสรุปผู้บริหาร
(Executive Summary)
โครงการวิจัย เรื่อง การส ารวจข้อมูลประเด็นความขัดแย้งจากการด าเนินโครงการตาม
แนวนโยบายของรัฐ (Conflict Mapping Phase 2) ภาคใต้ นั้นมีความส าคัญต่อการด าเนินโครงการ
ในอนาคตต่อไปจะไม่เกิดปัญหาการไม่ยอมรับ หรือการคัดค้านโครงการการพัฒนาของรัฐ การขาดซึ่ง
ข้อมูลพื้นฐาน การสร้างความเข้าใจ การสร้างการมีส่วนร่วม และการได้รับความร่วมมือจากประชาชน
จึงเป็นสิ่งที่ส าคัญ ซึ่งจะส่งผลต่อการด าเนินโครงการที่ส าคัญต่อการพัฒนาตั้งแต่ระดับเชิงพื้นที่ จังหวัด
ภูมิภาค และประเทศ ในการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน โดยในพื้นที่ภาคใต้หลาย
โครงการเป็นโครงการที่ใช้เวลาในการท าความเข้าใจ การให้ข้อมูล เวทีรับฟังความคิดเห็นหลายครั้งมี
ทั้งความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อร่างกายและทรัพย์สิน เพื่อเหตุการณ์เหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นอีก จึงควรมี
การศึกษาเพื่อใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม
ระเบียบวิธีการวิจัยโครงการส ารวจข้อมูลประเด็นความขัดแย้งจากการด าเนินโครงการตาม
แนวนโยบายของรัฐ (Conflict Mapping Phase 2) ภาคใต้ จ านวน 11 จังหวัด คือ จังหวัดชุมพร
สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง สงขลา และ สตูล
ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยทั้งวิธีการศึกษาจากเอกสาร (Documentary Research) และวิธีการเชิงคุณภาพ
(Quantitative Analysis) ในการศึกษาประเด็นความขัดแย้งจากการด าเนินโครงการตามแนวนโยบาย
ของรัฐ และจัดท าข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อทิศทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคใต้ โดยรวบรวม
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการตามแนวนโยบายภาครัฐในภาคใต้ การศึกษาข้อมูลสถานการณ์และ
สาเหตุความขัดแย้ง และแนวทางบริหารความขัดแย้งของโครงการที่เกิดขึ้นตามแนวนโยบายของรัฐใน
พื้นที่ภาคใต้ ทั้งนี้ได้มีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การจัดการสนทนากลุ่ม (Focus
Group) เพื่อได้ข้อมูลการวิจัยที่ครอบคลุมรอบด้านน าไปสู่การจัดท าข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่มีต่อ
การด าเนินโครงการตามแนวนโยบายของรัฐในอนาคต เพื่อลดความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดจาก
ภาครัฐ
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบโครงการตามแนวนโยบายภาครัฐประเด็นความขัดแย้งจากการด าเนินโครงการ
ตามแนวนโยบายของรัฐ ภาคใต้ ส่วนใหญ่เป็นประเภทโครงการความขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้าง
พื้นฐาน เพื่อการพัฒนาพื้นที่ ภูมิภาค และประเทศในด้านทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง อย่าง
หลีกเลี่ยงไม่ได้ และมีความส าคัญในการร่วมลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย เพื่อการ
ขับเคลื่อนเรื่องพลังงานทดแทนในพื้นที่ภาคใต้ได้อย่างเพียงพอ
2. สาเหตุความขัดแย้งจากโครงการตามแนวนโยบายภาครัฐ โดยส่วนใหญ่เป็นโครงการมา
จากการก าหนดจากส่วนกลางเป็นหลัก และที่มีความชัดเจนมากที่สุดส าหรับภาคใต้ คือ โครงการ
เกี่ยวกับการพัฒนาภาคใต้ ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ งบประมาณมหาศาล แต่ขาดการสื่อสารข้อมูล