Page 244 - kpi19909
P. 244

238



                                          เทศบาลตําบแม่กุ  ผู้ใหญ่บ้าน และราษฎร ม.8 ต.แม่กุ ที่ได้รับความ

                                          เดือดร้อน  ได้เชิญชาวบ้านเข้าร่วมประชุมรับฟังเรื่องความเดือดร้อนของ
                                          ประชาชนกรณี ที่ได้รับผลกระทบจากโรงงานไฟฟ้าจากขยะชุมชนและ

                                          ชีวมวล โดยที่ประชุมมีมติให้กําหนดมีการประชุมแก้ไขปัญหาดังกล่าว

                                          ในวันที่ 10 สิงหาคม 2560 เวลา 13.00 น. โดยมีอุตสาหกรรมจังหวัด

                                          และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมชี้แจงเพื่อแก้ไขปัญหา

                                          ดังกล่าว  ณ ห้องประชุมเทศบาลตําบลแมกุ อ.แม่สอด จ.ตาก ที่ประชุม
                                          มีมติให้ทางเทศบาลตําบลแม่กุ ยกเลิกสัญญาเช่าที่ดินกับบริษัท โดยนัด

                                          ให้คําตอบกับแกนนําชาวบ้านในวันที่ 16 สิงหาคม 2560 ขณะที่ทาง

                                          ฝ่ายตัวแทนบริษัท พร้อมพิสูจน์ว่า นํ้าเสีย และผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบ

                                          จากโรงงานขยะ ที่แกนนําชาวบ้านนํามาอ้างนั้น มาจากปัญหาของ

                                          โรงงานจริงหรือไม่ ซึ่งทางบรัษทมีความจําเป็นต้องเปิดดําเนินการผลิต
                                          กระแสไฟฟ้าต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับบริษัทฯ

                                          ตลอดจนการไฟฟ้าภูมิภาค และจะทําให้ไม่ได้มีการกําจัดขยะ มีปริมาณ

                                          ขยะที่เพิ่มมากขึ้น จนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นแหล่งพาหะ

                                          นําโรค ซึ่งจากนี้ไปหากทางเทศบาลจะให้หยุดผลิตกระแสไฟฟ้าอีก ทาง
                                          บริษัทก็มีควาจําเป็นต้องขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกร้องสิทธิประโยชน์

                                          ค่าใช้จ่าย และค่าเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นต่อไป

                   ระดับความรุนแรง        1 ไม่มีความเสียหายทั้งต่อทรัพย์สินและร่างกาย

                   วิธีการแก้ไข           จากความพยายามของชาวบ้านในแก้ปัญหาดังกล่าวมาแล้วในปี พ.ศ.
                                          2558-2559 นั้น สะท้อนถึงความห่วงกังวลในประเด็นความรู้สึกไม่

                                          ปลอดภัยในการดํารงชีวิต (Insecurity) ที่ชาวบ้านต้องได้รับ อย่างไรก็

                                          ตาม โครงการดังกล่าวกลับมีการรื้อฟื้นเพื่อจะดําเนินการอีกครั้ง

                                          ประเด็นนี้ส่งผลถึง “ความยากลําบากในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง” ใน

                                          พื้นที่ เนื่องจาก “ความเชื่อใจ” ได้ถูกทําลาย และแทนที่ด้วย “บรรยากาศ
                                          ของความไม่ไว้วางใจ” ดังนั้น ในการรับเรื่องร้องเรียนในครั้งนี้ องค์กรภ

                                          ภาครัฐต้องแสดงให้เห็นถึง “ความใส่ในและความจริงใจ” ในการ

                                          แก้ปัญหา โดยควรทําหน้าที่เป็น “ตัวกลาง” ที่ดี ในการเชื่อม

                                          ความสัมพันธ์และระหว่างชาวบ้าน และโครงการก่อสร้างฯ เพื่อหาทาง
                                          ออกร่วมกันอย่างเป็นระบบ ควรมีการให้ข้อมูลข่าวสาร และข้อเท็จจริงที่

                                          เป็นจริง เป็นธรรม และเป็นกลางเพื่อประกอบการตัดสินใจที่มาจาก
   239   240   241   242   243   244   245   246   247   248   249