Page 240 - kpi19909
P. 240
234
จุดยืน ชาวบ้านอําเภอแม่ระมาด และอําเภอแม่สอด จังหวัดตาก ชุมนุม
ประท้วง คัดค้าน และต่อต้านนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก
ของรัฐบาล
ผู้เกี่ยวข้องอื่น ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก
ระยะเวลา พ.ศ. 2559- ปัจจุบัน
สถานะ เคยมีความพยายามในการแก้ไขแล้ว ซึ่งเป็นเพียงการบรรเทาอาการ แต่
เชื้อยังไม่หายขาด อาจแสดงอาการหรือลุกลามได้อีกเมื่อมีสิ่งเร้า
ปัจจุบันอยู่ในสถานการณ์การเฝ้าระวัง
พลวัต แกนนําชาวบ้านชี้แจงว่า การชุมนุมครั้งนี้ไม่ได้ขัดขวางการพัฒนาเขต
พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก แต่ประเด็นสําคัญ คือ รัฐไม่ทําประชาคม
หรือรับฟังความคิดเห็นจากชาวบ้านก่อนที่จะดําเนินการใดๆ เช่น หาก
เอาคืนที่ดิน รัฐต้องหาที่ดินชดเชยให้ เพราะหากเอาที่ดินไปชาวบ้านจะ
เอาที่ดินตรงไหนทํากิน นอกจากนี้ ทางชาวบ้านต้องการอุตสาหกรรมสี
เขียว ไม่ใช่อุตสาหกรรมหนัก ต่อมา เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอําเภอแม่
ระมาด ได้ไปพบกับแกนนําชาวบ้านเพื่อต้องการทราบความต้องการ
ของชาวบ้าน ด้านรองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ที่มารับเรื่อง กล่าวกับ
ชาวบ้านว่า จะรับหนังสือและนําเรียนผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อหาทาง
เยียวยาช่วยเหลือที่ดีที่สุดให้แก่ชาวบ้านและทุกฝ่ายต่อไป หลังจาก
ชาวบ้านได้รับการชี้แจงจากรองผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วจึงสลายตัวแล้ว
แต่กลุ่มชาวบ้านก็ยังได้นําป้ายผ้าไปติดไว้ตามรั้วในหมู่บ้าน เพื่อแสดง
จุดยืนที่ประกาศไม่เอาโรงงานอุตสาหกรรมต่อไป
ระดับความรุนแรง 1 ไม่มีความเสียหายทั้งต่อทรัพย์สินและร่างกาย
วิธีการแก้ไข ก่อนการดําเนินโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ ควรมีการศึกษา
ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อชุมชนในทุกมิติ โดยเฉพาะอย่างิย่ง
ผลกระทบทางสังคม ซึ่งควรจะให้ความสําคัญในกระบวนการเข้าถึง
(Approach) โดยมีระยะและขั้นตอนในการประเมิน ดังนี้ 1.) ระยะ
ออกแบบ ควรยึดหลัก การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) เพื่อ
การวางแผนในการเข้าถึงชุมชนโดยคํานึงถึงรายละเอียดปลีกย่อยในทุก
มิติ ผ่านการทําความเข้าใจ และการสร้างความสัมพันธ์กับคนในชุมชน
2.) ระยะปฏิบัติการ ควรคํานึงถึงกระบวนการดําเนินงานที่อาจจะส่งผล
กระทต่อคนในชุมชน ซึ่งอาจจําเป็นต้องมีแผนรองรับเผื่อไว้เพื่อปรับปรุง