Page 242 - kpi19909
P. 242
236
กรณีศึกษาที่16.2: กรณีชาวบ้านอําเภอแม่สอดประท้วงโรงไฟฟ้าขยะชีวมวล
พื้นที่ ตําบลแม่กุ อําเภอแม่สอด จังหวัดตาก
ประเภท ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ ด้านข้อมูลข่าวสาร การจัดการ
สิ่งแวดล้อม และความไม่ปลอดภัยในการดํารงชีวิต (Insecurity)
ระดับการรับรู้ของสังคม ระดับจังหวัด
ประเด็นขัดแย้ง ความรู้สึกไม่ปลอดภัยในการดํารงชีวิต (Insecurity) ทรัพย์สิน และ
สุขภาพของชาวบ้านตําบลแม่กุ อําเภอแม่สอด จังหวัดตาก เนื่องจากทน
กลิ่นเหม็นจากบ่อขยะชีวมวลอีกไม่ไหว และผลกระทบจากโรงงานไฟฟ้า
จากขยะชุมชนและชีวมวล
ความเป็นมา ชาวบ้านตําบลแม่กุ อําเภอแม่สอด จังหวัดตาก ได้รับผลกระทบทาง
มลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าขยะชุมชนแห่งนี้มานานนับปี โดยเฉพาะ
เวลากลางคืนนอนกันแทบไม่ได้เพราะกลิ่นเหม็นลอยมาตามกระแสลม
จนชาวบ้านบางรายเกิดอาเจียน เวียนศีรษะ ขณะที่พื้นที่แห่งนี้เป็น
ชุมชนมีบ้านเรือนจํานวนมาก รวมถึงมีโรงเรียนประถม ชาวบ้านเคย
ร้องเรียนแล้วแต่เรื่องก็เงียบหาย จนเวลาผ่านมานานกว่า 1 ปี วันนี้
ชาวบ้านทนไม่ไหวจึงต้องออกมาชุมนุมโดยได้เดินทางมารวมตัว
ประท้วงกันอย่างสงบหน้าเทศบาลตําบลแม่กุเพื่อเรียกร้องขอความ
ช่วยเหลือขอให้ภาครัฐหันมาดูแล และช่วยเหลือชาวบ้านผู้ได้รับ
ผลกระทบอย่างเร่งด่วน
คู่ขัดแย้งหลัก ชาวบ้านตําบลแม่กุ อําเภอแม่สอด จังหวัดตาก กับบริษัทเนียส เอ็น
เนอร์จี จํากัด
จุดยืน ชาวบ้านตําบลแม่กุ อําเภอแม่สอด จังหวัดตาก ประท้วง คัดค้าน และ
ทําทุกวิถีทางเพื่อการต่อต้านโรงไฟฟ้าขยะชีวมวลของบริษัทเนียส เอ็น
เนอร์จี จํากัด
ผู้เกี่ยวข้องอื่น นายอําเภอแม่สอด และผู้ว่าราชการจังหวัดตาก
ระยะเวลา พ.ศ. 2560-ปัจจุบัน
สถานะ เคยมีความพยายามในการแก้ไขแล้ว ซึ่งเป็นเพียงการบรรเทาอาการ แต่
เชื้อยังไม่หายขาด อาจแสดงอาการหรือลุกลามได้อีกเมื่อมีสิ่งเร้า
ปัจจุบันอยู่ในสถานการณ์การเฝ้าระวัง