Page 35 - kpi19164
P. 35
(2) การช่วยเหลือเกษตรกรให้จ าหน่ายผลผลิตได้ราคาดี และไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบโดยปกติ
ราษฎร เมื่อผลิตพืชผล หรือปศุสัตว์ขึ้นมาได้ มักต้องจ าหน่ายให้แก่พ่อค้าเอกชน คนกลางในท้องถิ่น
ในราคาต่ า และถูกเอารัดเอาเปรียบในเรื่องการชั่งตวงวัดเพราะฉะนั้น เพื่อแก้ไขความเดือดร้อนเหล่นี้
ทางการจึงเข้าท าการช่วยเหลือด้วยวิธีการสหกรณ์ ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่สหกรณ์ขายข้าว และสหกรณ์
ขายพืชผล (ในบรรดาสหกรณ์ดังกล่าวบางสมาคมยังท าการด าเนินงานช่วยแปรรูปพืชผล และผลิตผล
เพื่อจ าหน่ายอีกด้วยเป็นการเพิ่มคุณค่าของสมาชิกออกจ าหน่าย ส าหรับสหกรณ์ขายพืชผลและผลิต
ได้แก่สหกรณ์ขายมะพร้าว สหกรณ์ช่วยแปรรูปเป็นมะพร้าวแห้ง เป็นต้น)
(3) การให้ราษฎรมีที่ดินของตนเอง หรือให้เช่าในอัตราต่ า ปรากฏว่ามีราษฎรในท้องถิ่นอยู่
ไม่น้อย ที่ไม่มีที่ดินของตนเอง หรือ ต้องเช่าผู้อื่นท ามาหากินโดยมีเงื่อนไขไม่เหมาะสม ท าให้ไม่
สามารถตั้งหลักฐานให้มั่นคงได้ จึงได้น าวิธีการสหกรณ์มาใช้ เพื่อส่งเสริมให้ราษฎรมีที่ดินเป็นของ
ตนเอง เช่น ได้มีการจัดตั้งสหกรณ์นิคม สหกรณ์เช่าซื้อที่ดิน และสหกรณ์ผู้เช่าขึ้น นอกจากราษฎรจะ
ได้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือ ได้เช่าที่ดิน โดยเสียค่าเช่าถูกและมีเงื่อนไขเป็นคุณแล้ว ยังเป็นการ
ส่งเสริมให้ราษฎรใช้ที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือดินที่ท าประโยชน์อยู่แล้วให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
โดยการบุกเบิก หรือปรับปรุงที่ดินให้มีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
(4) ส่งเสริมให้มีการบ ารุงดินให้มีคุณภาพดี ด้วยวิธีการชลประทานอันทันสมัยและการ
ส่งเสริมการใช้ปุ๋ย และพันธุ์พืชที่ดิน
สหกรณ์ที่ดินรูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสหกรณ์นิคม สหกรณ์เช่าซื้อ สหกรณ์ผู้เช่าหรือสหกรณ์
บ ารุงที่ดิน ต่างมีบทบาทในการปรับปรุงส่งเสริมการท าไร่นาของเกษตรกรในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
ปรับปรุงที่ดิน ได้แก่การจัดแบ่งที่ดินให้มีขนาดอันเหมาะสม การขุดคลองลอกคลอง การท าคันคูนา
การสร้างอาคารชลประทาน การสูบน้ า การบุกเบิกป่า การท าถนนการเจาะน้ าบาดาล การใช้ปุ๋ยและ
ปรับปรุงที่ดินการปรับปรุงในเรื่องตัวบุคคลและแรงงาน ได้แก่การปลูกพืชหลังฤดูท านา การปลูกพืช
หลายอย่าง การส่งเสริมอุตสาหกรรมในครัวเรือนการปรับปรุงด้านเงินทุน ได้แก่การจัดหาเงินทุนให้
สมาชิกกู้ยืม ในอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม เงื่อนไขเป็นคุณ และมีการควบคุมการใช้เงินการปรับปรุง
ด้านการจัดการ การแนะน า ชี้แจง ส่งเสริมให้เกษตรกรเป็นผู้ประกอบการที่ดี ทั้งด้านการผลิต และ
การตลาด
ที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น เป็นการพิจารณาบทบาทของสหกรณ์ในด้านการพัฒนาท้องถิ่น
หนักไปในทางเศรษฐศาสตร์ หรือทางด้านวัตถุ เป็นประการส าคัญ แต่ความจริงสหกรณ์หาได้มี
วัตถุประสงค์แต่ในทางเสริมสร้างความเจริญในด้านวัตถุแต่อย่างเดียวไม่ หากยังเพ่งเล็งถึงความสุข
แห่งจิตใจด้วยในเวลาเดียวกัน ซึ่งเราพอจะแยกพิจารณาได้ดังนี้
26