Page 34 - kpi19164
P. 34

(1) สหกรณ์ช่วยเพิ่มพูล กระตุ้นความพยายามช่วยเหลือตนเอง ของประชาชนในท้องถิ่น
                   และก่อให้เกิดการริเริ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะสหกรณ์ที่แท้จริงนั้น ก่อก าเนิดขึ้นด้วยความริเริ่มที่จะหาทาง

                   ขจัดหรือบรรเทาความเดือดร้อนในทางเศรษฐกิจของประชาชนเอง นับว่าเป็นการพัฒนาท้องถิ่นด้วย

                   ตนเอง ดังนั้นถ้าหากว่าไม่มีองค์การใดที่เป็นของประชาชน ในท้องถิ่นดังเช่นสหกรณ์ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดง
                   ถึงความเชื่อมั่นในตนเองของประชาชนแล้ว จะเกิดอันตรายขึ้นไม่น้อยทีเดียว ที่ความรับผิดในการ

                   พัฒนาบ้านเมืองนั้นตกเป็นหน้าที่ของรัฐบาลฝ่ายเดียวยิ่งกว่านั้นแผนการพัฒนาการท้องถิ่นของรัฐ ก็

                   ไม่สามารถด าเนินให้บรรลุสู่เป้าหมายได้
                           (2) สหกรณ์จะช่วยเป็นพื้นฐานในกรฝึกอบรม ให้ประชาชนเข้าใจวิธีการแบบประชาธิปไตย

                   ซึ่งเป็นเรื่องจ าเป็นยิ่งในกิจการแขนงต่างๆ ของการพัฒนาการท้องถิ่น

                           (3) สหกรณ์ที่ดีนั้นเปรียบเสมือนโรงเรียนฝึกอบรมความเป็นผู้น าในท้องถิ่นซึ่งช่วยให้มีผู้น าที่
                   ช านาญมากขึ้นไปช่วยกิจการพัฒนาในท้องถิ่นนั้นๆ

                           (4) สหกรณ์เปรียบเสมือนองค์การ (Organization) ที่มั่นคงในระดับท้องถิ่นที่ช่วยเป็นสื่อ

                   การช่วยเหลือประชาชนด้านต่างๆ ของรัฐบาล ในด้านการเงินก็อาจจะน าไปไว้ในการพัฒนาได้ถูกต้อง
                   และอยู่ในความรับผิดชอบของประชาชนเอง เป็นไปตามหลักแหล่งความเที่ยงธรรม ยกตัวอย่างเช่น

                   ในการช่วยเหลือด้านเครดิตของรัฐบาล รับอาจจัดให้เครดิตเป็นเงินก้อนใหญ่ให้แก่เกษตรกรใน

                   ท้องถิ่น โดยมอบให้สมาคมสหกรณ์เครดิตเป็นผู้ด าเนินการจัดการเงินทุนนั้น
                           (5) สหกรณ์ย่อมด าเนินการในฐานะสื่อกลางระหว่างประชาชนกับรัฐบาล ในการวางรูปและ

                   กระจายแผนการ หรือ นโยบายในการพัฒนาการของรัฐบาลไปสู่ประชาชนยกตัวอย่างเช่น นโยบาย

                   ในการเกษตรเรื่องต่างๆ ก็อาจท าเป็นข้อเสนอเข้าที่ประชุมธรรมดาสมาชิกของสหกรณ์ให้พิจารณา
                   หรือรับทราบได้และความรู้ต่างๆ เหล่านั้นก็จะกระจายไปสู่ประชาชนทั่วไปภายหลัง

                           ส าหรับประเทศไทยนั้น สหกรณ์มีบทบาทในการพัฒนาการท้องถิ่นในด้านต่างๆ หลายด้าน

                   พอจะจ าแนกออกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
                           (1) การส่งเสริมให้มีสถาบันเครดิตทางการเกษตรที่ดีขึ้นในท้องถิ่นโดยทั่วไปประชาชนตาม

                   ท้องถิ่นมีอาชีพทางเกษตรเป็นส่วนมาก เกษตรกรไทยมีทุนน้อยและการท ากาเกษตรต้องเสี่ยงภัยแลง

                   ทั้งในด้านภัยธรรมชาติและภัยทางเศรษฐกิจคือราคาพืชผลตกต่ า เป็นเหตุให้ขาดทุนรอน ต้องกู้ยืม
                   เงินจากแหล่งที่ไม่เหมาะสม คือเสียดอกเบี้ยแพง มีเงื่อนไขไม่เหมาะสม เป็นเหตุให้มีหนี้สินรุงรังจนไม่

                   อาจพื้นตัวได้ สหกรณ์ได้เข้ามาช่วยแก้สถานการณ์ในเรื่องนี้โดยจัดให้มีสถาบันเครดิตที่ดีและ

                   เหมาะสม คือให้เงินกู้แก่เกษตรกรในอัตราดอกเบี้ยถูก มีระยะเวลาผ่อนช าระนานปี เงื่อนไขเหมาะสม
                   และด าเนินงานตามแบบสหกรณ์







                                                            25
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39