Page 12 - kpi19164
P. 12
ซึ่งประเทศไทยได้ก าหนดประเภทสหกรณ์ไว้ 7 ประเภท พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.
2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 ประกอบด้วย
(1) สหกรณ์การเกษตร
(2) สหกรณ์นิคม
(3) สหกรณ์ประมง
(4) สหกรณ์ออมทรัพย์
(5) สหกรณ์ร้านค้า
(6) สหกรณ์บริการ
(7) สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
ซึ่งนับแต่สหกรณ์ได้ถือก าเนิดขึ้นในประเทศไทยจวบจนปัจจุบัน ผลการด าเนินงานของ
สหกรณ์ในธุรกิจต่างๆ ได้สร้างความเชื่อถือ เป็นที่ไว้วางใจของสมาชิก จนท าให้จ านวนสหกรณ์
จ านวนสมาชิก ปริมาณเงินทุน และผลก าไรของสหกรณ์เพิ่มขึ้นทุกปี การสหกรณ์ในประเทศไทยจึงมี
ความส าคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะต่อประชาชนที่ยากจน สหกรณ์จะเป็นสถาบันทาง
เศรษฐกิจและสังคมที่ช่วยแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพ และช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของ
ประชาชนให้ดีขึ้น (http://www.clt.or.th, สืบค้นวันที่ 20 เมษายน 2560)
จากพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในกิจการสหกรณ์กับการ
พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่ทรงริเริ่มและวางรากฐานการพัฒนาให้กับประเทศไทย และมีผลสืบเนื่อง
มาถึงปัจจุบันในการช่วยเหลือประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังนั้นในการวิจัยนี้จึงสนใจที่จะ
ศึกษาพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจของไทยที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบการผลิตเพื่อส่งออก และการ
เปลี่ยนแปลงนี้ได้ส่งผลต่อการผลักดันให้เกิดการทดลองตั้งสหกรณ์ขึ้น และมาขยายเพิ่มจ านวน
สหกรณ์ขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงมีพระราชด าริ
ถึงความส าคัญของสหกรณ์และทรงส่งเสริมกิจการสหกรณ์พัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และ
บทบาทสหกรณ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากพระราชกรณียกิจของ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงริเริ่มไว้ และเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการวิจัยให้กับ
สาธารณชนได้มีความรู้ต่อไป
1.2 วัตถุประสงค์ของโครงกำร
1.2.1 เพื่อศึกษาพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจของไทยที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบการผลิตเพื่อ
ส่งออก และการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ส่งผลต่อการผลักดันให้เกิดการทดลองตั้งสหกรณ์ขึ้น และมาขยาย
เพิ่มจ านวนสหกรณ์ขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงมี
3