Page 11 - kpi19164
P. 11

จากการที่พระองค์ท่านทรงเป็นผู้บุกเบิกริเริ่มงานสหกรณ์ขึ้นในประเทศไทย บุคคลทั้งหลายใน
                   ขบวนการสหกรณ์จึงถือว่าพระองค์ทรงเป็น พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย ส าหรับรูปแบบของไรฟ์ไฟ

                   เซนก็คือ สหกรณ์เพื่อการกู้ยืมเงินที่มีขนาดเล็ก สมาชิกจะได้มีความรับผิดชอบร่วมกัน ท าให้สะดวก

                   แก่การควบคุม ท้องที่ที่ได้รับการพิจารณาให้จัดตั้งสหกรณ์ คือ จังหวัดพิษณุโลก เนื่องจากเป็นจังหวัด
                   ที่มีผู้คนไม่หนาแน่นและเป็นราษฎรที่เพิ่งอพยพมาจากทางใต้ จึงต้องการช่วยเหลือผู้อพยพซึ่ง

                   ประกอบอาชีพการเกษตรให้ตั้งตัวได้ รวมทั้งเพื่อเป็นการชักจูงราษฎรในจังหวัดอื่นที่มีผู้คน

                           หนาแน่นให้อพยพมาในจังหวัดนี้ และเข้าท าประโยชน์ในที่ดินอย่างเต็มที่ ต่อมากรมพาณิชย์
                   และสถิติพยากรณ์ จึงได้ทดลองจัดตั้งสหกรณ์หาทุนขึ้น ณ ท้องที่อ าเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เป็น

                   แห่งแรกใช้ชื่อว่า "สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จ ากัดสินใช้" โดยจดทะเบียน เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2459 มี

                   พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เป็นนายทะเบียนสหกรณ์พระองค์แรก นับเป็นการเริ่มต้น
                   แห่งการสหกรณ์ในประเทศไทยอย่างสมบูรณ์

                           จากความส าเร็จของสหกรณ์วัดจันทร์ดังกล่าว รัฐบาลจึงได้คิดขยายกิจการสหกรณ์ไปยัง

                   จังหวัดอื่นๆแต่การจัดตั้งสหกรณ์ในระยะแรกนั้น นอกจากจะมีข้อจ ากัดเรื่องเงินทุนแล้วยังมีข้อจ ากัด
                   ในทางกฎหมายด้วย เพราะพระราชบัญญัติเพิ่มเติมสมาคม พ.ศ. 2459 ท าให้การ จัดตั้งสหกรณ์ไม่

                   กว้างขวางพอที่จะขยายสหกรณ์ออกไป หากจะให้การจัดตั้งสหกรณ์เจริญก้าวหน้าและมีความมั่นคง

                   จะต้องออกกฎหมายควบคุมให้มีขอบเขตกว้าง ดังนั้นในเวลาต่อมาทางราชการจึงได้ประกาศยกเลิก
                   พระราชบัญญัติเพิ่มเติมสมาคม พ.ศ. 2459 แล้วประกาศใช้พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471

                   นับเป็นกฎหมายสหกรณ์ฉบับแรก พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้เปิดโอกาสให้มีการ รับจดทะเบียน

                   สหกรณ์ประเภทอื่นๆ จากนั้นได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 อีก 3 ครั้ง
                   นับว่าการประกาศ ให้พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 ช่วยให้การจัดตั้งสหกรณ์ได้ขยายออกไป

                   อีกมาก

                           การเปลี่ยนแปลงครั้งส าคัญที่สุดของขบวนการสหกรณ์ในประเทศไทย ก็คือการควบสหกรณ์
                   หาทุนเข้าด้วยกัน โดยทาง ราชการได้ออกพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 เปิดโอกาสให้สหกรณ์

                   หาทุนขนาดเล็กที่ด าเนินธุรกิจเพียงอย่างเดียวควบเข้ากันเป็นขนาดใหญ่ สามารถขยายการด าเนิน

                   ธุรกิจเป็นแบบอเนกประสงค์ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่สมาชิกได้มากกว่า ด้วยเหตุนี้สหกรณ์หาทุน จึง
                   แปรสภาพเป็นสหกรณ์การเกษตรมาจนปัจจุบัน และในปี 2511 สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย

                   ได้ถือก าเนิดขึ้นมา เพื่อเป็นสถาบันส าหรับให้การศึกษาแก่สมาชิกสหกรณ์ทั่วประเทศ มีหน้าที่ติดต่อ

                   ประสานงานกับสถาบันสหกรณ์ต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ และความช่วยเหลือ ร่วมมือกัน
                   ระหว่างสหกรณ์สากลในด้านอื่นๆ ที่มิใช่เกี่ยวกับการด าเนินธุรกิจโดยมีสหกรณ์ทุกประเภทป็นสมาชิก






                                                            2
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16