Page 10 - kpi19164
P. 10

บทที่ 1

                                                          บทน ำ



                   1.1 หลักกำรและเหตุผล

                           การสหกรณ์ในประเทศไทย มีมูลเหตุสืบเนื่องมาจาก เมื่อประเทศไทยได้เริ่มมีการติดต่อ
                   ค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ระบบเศรษฐกิจของชนบทก็ค่อยๆ เปลี่ยน

                   จากระบบเศรษฐกิจแบบเพื่อเลี้ยงตัวเองมาสู่ระบบเศรษฐกิจแบบเพื่อการค้า ความต้องการเงินทุนใน

                   การขยายการผลิตและการครองชีพจึงมีเพิ่มขึ้น ชาวนาที่ไม่มีทุนรอนของตนเองก็หันไปกู้ยืมเงินจาก
                   บุคคลอื่น ท าให้ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงและยังถูกเอาเปรียบจากพ่อค้า นายทุนทุกวิถีทางอีกด้วย

                   ชาวนาจึงตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่ตลอดเวลา ท านาได้ข้าวเท่าใด ก็ต้องขายใช้หนี้เกือบหมด

                   นอกจากนี้ การท านายังคงมีผลผลิตที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ ถ้าปีไหนผลผลิต
                   เสียหายก็จะท าให้หนี้สินพอกพูนมากขึ้นเรื่อยๆ จนลูกหนี้บางรายต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่นาให้แก่

                   เจ้าหนี้ และกลายเป็นผู้เช่านาหรือเร่ร่อนไม่มีที่ดินท ากินไปในที่สุด

                           จากสภาพปัญหาความยากจนของชาวนาในสมัยนั้น ท าให้ทางราชการคิดหาวิธีช่วยเหลือ
                   ด้วยการจัดหาเงินทุนมาให้กู้และคิดดอกเบี้ยในอัตราต่ า ความคิดนี้ได้เริ่มขึ้นในปลายรัชการที่ 5 โดย

                   ก าหนดวิธีการที่จะช่วยชาวนาในด้านเงินทุนไว  ้ 2 วิธี คือ

                           วิธีที่ 1 จัดตั้งธนาคารเกษตรเพื่อให้เงินกู้แก่ชาวนา แต่ขัดข้องในเรื่องเงินทุนและหลักประกัน
                   เงินกู้ ความคิดนี้จึงระงับไป

                           วิธีที่ 2 วิธีการสหกรณ์ประเภทหาทุน วิธีนี้เกิดจากรัฐบาลโดยกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

                   ในปัจจุบัน คือ กระทรวงการคลัง
                           ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เริ่มศึกษาวิธีการสหกรณ์ขึ้น ในปี

                   พ.ศ. 2457 แต่ก็ยังมิได้ด าเนินการอย่างไร จนกระทั่งในปี 2458 ได้มีการเปลี่ยนกรมสถิติพยากรณ์

                   เป็นกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์  ประกอบด้วย ส่วนราชการ 3 ส่วน คือ การพาณิชย์ การสถิติ
                   พยากรณ์ และการสหกรณ์

                           การจัดตั้งส่วนราชการสหกรณ์นี้ ก็เพื่อจะให้มีเจ้าหน้าที่ด าเนินการทดลองจัดตั้งสหกรณ์ขึ้น

                   และพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ในฐานะทรงเป็นอธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์
                   ขณะนั้น ได้ทรงพิจารณาเลือกแบบอย่าง สหกรณ์เครดิตที่จัดกันอยู่ในต่างประเทศหลายแบบ ในที่สุด

                   ก็ทรงเลือกแบบไรฟ์ไฟเซนและทรงยืนยันไว้ในรายงานสหกรณ์ฉบับแรกว่า เมื่อได้พิจารณาละเอียด

                   แล้ว ได้ตกลงเลือกสหกรณ์ชนิดที่ เรียกว่า ไรฟ์ไฟเซน ซึ่งเกิดขึ้นในเยอรมันก่อน และซึ่งมุ่งหมายที่จะ
                   อุปถัมภ์คนจน ผู้ประกอบกสิกรรมย่อมๆ เห็นว่าเป็นสหกรณ์ชนิดที่เหมาะสมที่สุดส าหรับประเทศไทย



                                                            1
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15