Page 16 - kpi17968
P. 16
5
อำเภอใจไปละเมิดและลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่ได้ เพราะถ้าหากมี
การใช้อำนาจตามอำเภอใจแล้ว ก็ไม่อาจเรียกการปกครองในระบอบนั้นว่าเป็นการ
ปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้อีกต่อไป ทั้งนี้ หลักนิติธรรมเป็นหลักที่
กำหนดให้อย่างน้อย ต้องมีการแบ่งแยกการใช้อำนาจ และกำหนดให้
เจ้าหน้าที่รัฐจะต้องใช้อำนาจโดยเคารพต่อกฎหมาย ซึ่งสอดคล้องกับหลักการ
สำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยดังกล่าว
จึงอาจกล่าวได้ว่า หลักนิติธรรมเปรียบเสมือนเสาหลักของการปกครองใน
ระบอบประชาธิปไตย หากองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐใช้อำนาจอยู่ในกรอบของกฎหมาย
ตลอดจนประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยก็เคารพกฎหมาย สังคม
ประชาธิปไตยก็จะมีความสงบเรียบร้อย และสามารถได้รับการพัฒนาอย่าง
ต่อเนื่อง
ประเทศไทยก็ได้ให้ความสำคัญกับหลักนิติธรรมเช่นกัน ดังจะเห็นได้ว่า
มีการบัญญัติคำว่า “หลักนิติธรรม” อย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย พุทธศักราช 2550 อีกทั้งร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็ยังกำหนดให้หลัก
5
นิติธรรมเป็นหลักการสำคัญ นอกจากนี้ ในช่วงที่ผ่านมา ก็ได้มีการส่งเสริมให้
องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องเคารพหลักนิติธรรมซึ่งสอดแทรกอยู่ใน
หลักการต่างๆ เช่น การกำหนดให้การดำเนินกิจการขององค์กรทั้งภาครัฐและ
เอกชนต้องเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ซึ่งมีองค์ประกอบข้อหนึ่งคือหลัก
นิติธรรม หรือแม้กระทั่งการตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และการ
บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ซึ่งก็มีหลักการหลายประการที่เป็นไป
ตามหลักนิติธรรมเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม หลักนิติธรรมก็เป็นหลักที่มีความเป็นนามธรรมค่อนข้างมาก
และไม่มีการกำหนดความหมายที่ชัดเจน ส่งผลให้ที่ผ่านมา บุคคลหลายฝ่ายตั้ง
แต่องค์กรที่ใช้อำนาจรัฐ จนถึงประชาชนยกคำว่า “หลักนิติธรรม” ขึ้นกล่าวอ้างเพื่อ
ประโยชน์ของตนเอง แต่ก็ไม่เป็นที่ประจักษ์ว่า คำว่านิติธรรมหมายความว่าอย่างไร
และยังมีปัญหาเรื่องการเคารพหลักนิติธรรมขององค์กรต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 3 วรรคสอง
หลักการและเหตุผล