Page 15 - kpi17968
P. 15

4




               (Common Law หรือระบบกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์) ต่อมา ในภาคพื้นยุโรป

               ซึ่งใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law) และในสหรัฐอเมริกา ก็ได้มี
               การพัฒนาหลักการที่คล้ายคลึงกับหลักนิติธรรมนี้ คือ หลักนิติรัฐ (Legal State)
               และหลักนิติกระบวน (Due Process of Law) ซึ่งมีรายละเอียดแตกต่างกัน แต่

               ไม่ว่าจะเป็นหลักนิติธรรม นิติรัฐ หรือนิติกระบวน ก็ล้วนแล้วแต่มีจุดประสงค์
               เหมือนกัน คือ คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และจำกัดอำนาจของรัฐ 3


                     ปัจจุบัน หลักนิติธรรม ถือเป็นหลักที่มีความสำคัญต่อการปกครองใน
                                             4
               ระบอบประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก  อย่างน้อยในสามมิติ ดังนี้

                     ประการที่หนึ่ง มิติในการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชน การปกครองใน
               ระบอบประชาธิปไตย กำหนดให้ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอย่างเสมอ

               ภาคภายใต้กฎหมาย แต่ถ้าหากต่างคนต่างใช้อำนาจและอ้างสิทธิของตนเองโดย
               ไม่เคารพกฎหมาย ไม่เคารพสิทธิของผู้อื่นแล้ว หรือใช้เสียงข้างมากโดยไม่เคารพ
               กติกา ก็อาจเกิดความวุ่นวายในสังคมได้


                     ประการที่สอง มิติในการตรากฎหมาย กล่าวคือ การตรากฎหมายจำเป็น
               ต้องเคารพหลักนิติธรรม โดยกฎหมายนั้นต้องเคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชน
               และมีการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ถ้าหากกฎหมายไม่

               เป็นธรรม และไม่มีการบังคับใช้กับบุคคลทุกคนอย่างเท่าเทียมกันแล้ว ประชาชน
               ก็จะไม่มีศรัทธาต่อกฎหมาย เป็นการทำลายคุณค่าของหลักนิติธรรม และเป็นการ

               ขัดต่อหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

                     ประการที่สาม มิติการใช้อำนาจ ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

               นั้น สิ่งที่สำคัญคือ องค์กรที่ใช้อำนาจรัฐ ตลอดจนเจ้าหน้าที่รัฐ จะใช้อำนาจตาม


                   2   วิสิฐ ญาณภิรัต. (2557). บริบทหลักนิติธรรมในต่างประเทศ. กรุงเทพฯ : สำนักงาน
               ปลัดกระทรวงยุติธรรม หน้า 111
                   3   เรื่องเดียวกัน
                   4   การแสดงปาฐกถาเรื่อง “การปฏิรูปการเมืองภายใต้หลักนิติธรรม” โดย ศาสตราจารย์
               ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เนื่องในโอกาสวันสถาปนาศาลรัฐธรรมนูญ วันที่ 24 เมษายน พ.ศ.
               2557 สืบค้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2558 จาก www.isranews.org/thaireform-data-politics/





                 หลักการและเหตุผล
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20