Page 98 - kpi17034
P. 98
การสร้างสำนึกพลเมือง
อย่างไรก็ตาม ปัญหาหนึ่งๆ อาจยกระดับจากปัญหาส่วนตัวสู่ปัญหา
สาธารณะได้หากกินพื้นที่ทางสังคมมากขึ้น เช่น ปัญหาอาการปวดท้อง
หากเกิดขึ้นเพราะผู้นั้นทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะเข้าไปด้วยตนเองย่อม
เป็นปัญหาส่วนตัวของผู้นั้น แต่หากมีผู้จัดหาอาหารนั้นให้หลายคนรับ
ประทานและเกิดอาการปวดท้องขึ้นพร้อมกัน นั่นจะกลายเป็นปัญหาของ
ชุมชนและสังคมขึ้นมา ต่อเมื่อพบว่าสาเหตุของอาการปวดท้องนั้นเกิดจาก
ไวรัสชนิดใหม่ที่แผ่กระจายตัวทางน้ำทำให้ปัญหาดังกล่าวขยายวงกินพื้นที่
เข้าไปยังภาคประชาสังคมมากขึ้นกลายเป็นปัญหาของสังคมที่รัฐนิ่งเฉยไม่ได้
ภาครัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบจะต้องกำหนดแนวทางหรือนโยบายสาธารณะ
เพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าว ดังตัวอย่างนโยบายสาธารณะอื่นๆ ที่ผ่านมา
ในสังคมไทย เช่น โครงการสุขภาพทั่วหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค โครงการ
กองทุนหมู่บ้าน โครงการพักหนี้เกษตรกร โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน
โครงการเช็คช่วยชาติ 2,000 บาท โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า นโยบายสาธารณะ จึงเป็นทั้งเครื่องมือที่ใช้ป้องกันและ
แก้ไขปัญหาสาธารณะ ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบกับคนจำนวนมาก
มีความรุนแรง และครอบคลุมพื้นที่อย่างกว้างขวาง มีความรุนแรงเร่งด่วน
หรือมีความสำคัญกับคนจำนวนมากๆ
หลายคนอาจรู้สึกว่านโยบายสาธารณะเป็นเรื่องใหญ่เป็นเรื่องไกลตัว
และเป็นเรื่องยากเพราะเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย อย่างไรก็ตาม ในทาง
ปฏิบัติ การกำหนดนโยบายสาธารณะมีได้ในทุกระดับชั้นขององค์กร เช่น
นโยบายระดับประเทศ ระดับภาค ระดับเขต ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ
รวมไปถึงระดับโรงเรียน เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ นโยบายสาธารณะจึงเป็นเรื่องใกล้ตัว ที่พวกเราทุกคนควร
ใส่ใจและควรเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะ โดยอาจ
เริ่มต้นจากพื้นที่ใกล้ตัวเช่นในโรงเรียนและชุมชนของตนเอง โดยการสำรวจ