Page 69 - kpi17034
P. 69

การสร้างสำนึกพลเมือง



                    ด้วยเหตุนี้ ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ: Emotional Quotient) จึง

              ได้รับการพูดถึงมากขึ้น เพราะในขณะที่ความฉลาดทางปัญญา (IQ:
              Intelligence Quotient) หมายถึงศักยภาพของสมองที่ติดตัวมาแต่กำเนิด
              เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ยาก สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพในการเรียนรู้ แต่ความ
              ฉลาดทางอารมณ์ (EQ: Emotional Quotient) เป็นความสามารถในการ

              รับรู้และเข้าใจอารมณ์ของตัวเองและผู้อื่น ความสามารถในการปรับตัวหรือ
              ควบคุมอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์ ซึ่งเป็นส่วนที่สามารถ
              เรียนรู้และพัฒนาได้

                    ความฉลาดทางด้านอารมณ์นี้ประกอบด้วย ความฉลาดคิด ฉลาดพูด
              ฉลาดทำ รู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง มีความรับผิดชอบ ปรับตัวจัดการกับ

              อารมณ์และความต้องการของตนเองได้ มีความคิดสร้างสรรค์ ภูมิใจและ
              มั่นใจในตนเอง มีความกล้าแสดงออก เป็นต้น ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต
              (2546) ระบุว่าความฉลาดทางอารมณ์สามารถพัฒนาได้โดย

                    1. การฝึกสร้างความภาคภูมิใจในตนอง โดยมองหาคุณค่าในตนเอง
                       สร้างความรู้สึกดีๆให้แก่ตนเอง ชื่นชมและฝึกสำรวจอารมณ์ของ

                       ตนเอง พยายามทำความเข้าใจตนเองและผู้อื่น
                    2. ฝึกจับและแยกแยะอารมณ์ของตนเองว่าช่วงนี้ตนเองอยู่ในอารมณ์

                       ใด ซึ่งเมื่อแยกแยะอารมณ์ตนเองได้จะช่วยให้สามารถเท่าทัน
                       ความรู้สึกและช่วยให้ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดียิ่งขึ้น

                    3. การฝึกทำความเข้าใจและหยั่งรู้อารมณ์ความรู้สึกผู้อื่น สามารถ
                       ทำได้โดยฝึกสังเกตและเปิดใจยอมรับความแตกต่าง

                    4. การสร้างแรงจูงใจด้านบวกให้ตนเอง สามารถทำได้โดยการตั้ง
                       เป้าหมายเป็นระยะ โดยคาดหวังในสิ่งที่เป็นไปได้ มุ่งเน้นการ

                       พัฒนาตนเองมากกว่าการแข่งขันกับผู้อื่น






                                             0
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74