Page 67 - kpi17034
P. 67

การสร้างสำนึกพลเมือง



              ได้รับความสนใจมากขึ้น เพราะเน้นการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงมากขึ้นมีการ

              พูดคุยหารือกันก่อนตัดสินใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยให้ความสำคัญกับสิทธิ
              เสรีภาพ และศักยภาพของพลเมืองในการเข้าไปมีส่วนร่วมกับภาครัฐกำหนด
              นโยบายหรือแนวทางการบริหารประเทศเพื่อประโยชน์ของคนส่วนรวม

                    ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมนี้ ได้รับการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
              แห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2550 ในหลายมาตรา

              เช่น ในหมวดที่ 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
              ว่าด้วยเรื่องการมีส่วนร่วมทางตรงผ่านการเสนอร่างพระราชบัญญัติ การลง
              ประชามติ และการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่มีพฤติกรรม
              ไม่ชอบ เป็นต้น

                    การมีส่วนร่วมทางการเมืองยังมีระดับที่แตกต่างกันออกไป เริ่มตั้งแต่
              ระดับที่ง่ายที่สุดคือการติดตามข่าวสารบ้านเมือง นโยบายที่เกิดขึ้นในชุมชน

              และแลกเปลี่ยนความเห็นกับคนใกล้ตัวหรือเพื่อนร่วมอุดมการณ์ เรื่อยไป
              จนถึงการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในที่สาธารณะในรูปแบบต่างๆ เช่น
              โดยการเขียนบทความ การพูดในที่สาธารณะ การมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง

              และลงสมัครรับเลือกตั้ง ไปจนถึงการมีส่วนร่วมในการวางแผน การเสนอ
              กฎหมายและเสนอแนวทางการบริหารหรือนโยบาย ร่วมปฏิบัติ และติดตาม
              ตรวจสอบควบคุมการทำงานโดยภาคประชาชน เป็นต้น

                    เมื่อพิจารณาระดับและรูปแบบที่หลากหลายของการมีส่วนร่วม
              ทางการเมือง ประกอบกับช่องทางการมีส่วนร่วมที่รัฐธรรมนูญเปิดไว้

              พลเมืองจึงควรใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์เพื่อแก้ไขปัญหาบ้านเมืองและ
              ยกระดับจิตสำนึกความเป็นพลเมืองให้สูงขึ้นและกว้างขวางออกไป
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72