Page 39 - kpi17034
P. 39

การสร้างสำนึกพลเมือง



                    ส่วนคำว่า “พลเมือง” (citizen) มีรากศัพท์มาจาก 2 คำ คือ

              “พละ” + “เมือง” โดย“พละ” หมายถึง พละกำลัง “เมือง” หมายถึง
              บ้านเมือง เมื่อนำ 2 คำนี้มารวมกันจึงทำให้คำว่า “พลเมือง” มีความหมาย
              ที่มากไปกว่าผู้ที่มีบทบาทหน้าที่เพียงแค่รับคำสั่งจากรัฐและทำตามกฎหมาย
              เท่านั้น แต่ยังหมายถึง ผู้ที่เป็นกำลัง/พลังของบ้านเมือง รวมตัวกันทำเรื่อง

              ดีๆ รวมถึงมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อตัวเองและสังคม ซื่อสัตย์ เสียสละ
              มีเหตุผล เห็นกับประโยชน์ส่วนรวมและเป็นส่วนช่วยให้สังคมและประเทศ
              ชาติมีความเจริญ โดยสรุป พลเมืองจึงหมายถึงคนที่เป็น “พละกำลังของ
              บ้านเมือง” ไม่เป็นภาระให้กับคนอื่นแต่สามารถพึ่งตนเองและช่วยเหลือ

              สังคมได้

                    ในส่วนของภาษาอังกฤษได้ให้ความแตกต่างระหว่างคำว่า “ราษฎร”
              “ประชาชน” และ “พลเมือง” ไว้เช่นกัน คือ “ราษฎร” มาจากภาษาอังกฤษ
              คือ “Subject” ซึ่งในภาษาอังกฤษมีความหมายถึงผู้ที่ถูกกระทำ
              “ประชาชน” มาจากคำภาษาอังกฤษว่า “People” ซึ่งมีความหมายถึงกลุ่ม

              คนหรือประชาชนทั่วไปในประเทศ ส่วนคำว่า “พลเมือง” มาจากภาษา
              อังกฤษว่า “Citizen”

                    ศ. ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ กล่าวว่า สังคมจะมีคุณภาพได้
              หากประชาชนพ้นจากความเป็นราษฎรสู่ความเป็นพลเมือง เช่นเดียวกับ
              อาจารย์แก้วสรร อติโพธิ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย
              ธรรมศาสตร์ และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ที่กล่าวว่าการปฏิรูป

              การเมืองจำเป็นต้อง “ยกระดับ” ราษฎรให้เป็นประชาชนและ “พลเมือง”
              ต่อไป

                    ดังนั้น การพัฒนาสังคมหนึ่งๆ ให้มีคุณภาพจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง
              ยกระดับ ความรู้ความสามารถ (knowledge) ทักษะ (skill) และเจตคติ
              (disposition) ของผู้คนในสังคมจาก “ราษฎร” ที่ยังเป็นภาระให้กับคนอื่น

              และสังคมไปสู่ “ประชาชน” ที่เป็นเพียงผู้เฝ้าดูยืนมองเฉยๆ ให้กลายเป็น



                                             0
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44