Page 38 - kpi17034
P. 38
การสร้างสำนึกพลเมือง
ไปโดยเข้าใจว่า 3 คำนี้มีความหมายเหมือนกันและสามารถใช้แทนกันได้
ทั้งที่แท้จริงแล้วทั้ง 3 คำนี้มีความหมายที่แตกต่างกันอย่างมาก
สิ่งสำคัญประการแรกในการสร้างความเป็นพลเมืองคือต้องเริ่มต้น
จากการทำความเข้าใจความหมายของคำว่าพลเมืองให้ถูกต้องตรงกันก่อน
เพื่อให้เห็นว่าเพราะเหตุใดพลเมืองจึงมีความสำคัญ รวมไปถึงคุณสมบัติ
ที่สำคัญและบทบาทหน้าที่ของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขควรเป็นเช่นใด โดยความแตกต่างที่สำคัญ
ของคำว่า “ราษฎร” “ประชาชน” และ “พลเมือง” อยู่ที่จิตสำนึกความ
รับผิดชอบและพฤติกรรมการแสดงออกต่อสาธารณะดังต่อไปนี้ 1
“ราษฎร” (subject) หมายถึงผู้ที่เป็นภาระให้แก่สังคมไม่สามารถ
พึ่งพาตัวเองได้ รอการช่วยเหลือจากคนอื่นอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม สังคม
จะต้องเปิดโอกาสให้พวกเขามีการพัฒนาเพื่อพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น ผู้ที่อยู่
ภายใต้การดูแลและมีบทบาทเพียงการรับคำสั่งและทำตามคำสั่ง
“ประชาชน” (people) หมายถึงคนที่อยู่ใต้อำนาจ เป็นผู้รับคำสั่ง
และทำตามคำสั่ง เป็นผู้ดูและไม่ใช่ผู้เล่น ในอีกนัยยะคือ ในสังคมมี
ผู้ปกครองและผู้อยู่ภายใต้การปกครอง ประชาชนในที่นี้ถูกผู้ปกครองบอกให้
ไปเลือกตั้งหรือเสียภาษีก็จะทำตาม แต่ถ้ามีโอกาสก็จะหนีภาษีหรือไม่ไป
เลือกตั้ง เป็นต้น เพราะจะมองที่ผลประโยชน์ของตนเองอย่างเดียว โดยถ้า
ตัวเองไม่ได้ผลประโยชน์ก็จะคิดหยิบฉวย แต่ถ้าต้องเสียผลประโยชน์ก็จะไม่
ยอมเสียสละหรือมีส่วนในการช่วยกันแก้ปัญหาซึ่งถือว่ามีจำนวนมากใน
สังคมบ้านเรา คือ เป็นเพียงคนยืนดูเฉยๆ มีนัยความหมายสะท้อนให้เห็น
อำนาจที่มากขึ้น มีการสื่อถึงความเป็นเจ้าของประเทศ และเจ้าของอำนาจ
อธิปไตยมากกว่ากว่าราษฎร
1 กิตติศักดิ์ ปรกติ. “ความสำคัญของพลเมืองต่อการพัฒนาประชาธิปไตยไทย”.
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 13 เรื่อง ความเป็น
พลเมืองกับอนาคตประชาธิปไตยไทย. หน้า 137-154.