Page 202 - kpi17034
P. 202
การสร้างสำนึกพลเมือง
การทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่นำเสนอ จึงมีความสำคัญเพราะจะช่วยให้ผู้ฟัง
เห็นความสำคัญของปัญหาอย่างแท้จริง ซึ่งหากนักเรียนหรือชุมชนเป็น
ผู้ลงมือทำด้วยตนเอง การตอบข้อซักถามย่อมไม่เป็นปัญหา เพราะนักเรียน
สามารถตอบคำถามได้อยู่แล้ว ขอเพียงลดความตื่นเต้นลงเท่านั้น
การฝึกฝนการนำเสนอ สามารถกระทำได้ไม่ยาก สิ่งสำคัญคือ
การจัดพื้นที่ให้มีผู้นำเสนอและผู้ฟัง โดยในการนำเสนอควรมีผู้นำเสนอ
อย่างน้อย 4 คน และแบ่งบทบาทหน้าที่ในการนำเสนอว่าผู้ใดจะนำเสนอ
ในส่วนใดให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้นำเสนอฝึกทำความเข้าใจและถ่ายทอดเนื้อหา
ต่างๆด้วยความรู้และความเข้าใจ ไม่ใช่จากการท่องจำ (อ่านเพิ่มเติมใน
ใบความรู้ที่ 11 เรื่องเทคนิคการนำเสนอให้น่าสนใจ)
ในส่วนของผู้ฟัง ควรใช้หลักการฟังอย่างตั้งใจ พยายามทำความเข้าใจ
ไม่พูดแทรกขณะที่ผู้อื่นกำลังนำเสนอ และควรใช้หลักของการ “ติเพื่อก่อ”
ไม่ควรติกันเพื่อบั่นทอนกำลังใจ แต่เป็นการติชมเพื่อให้ผู้นำเสนอได้ปรับปรุง
วิธีการนำเสนอให้น่าสนใจยิ่งขึ้น สำหรับหลักในการติเพื่อก่อนี้ควรแสดง
ความชื่นชมอย่างจริงใจ ในจุดดีของผู้พูด และไม่ควรใช้คำว่า “แต่” หลังจาก
ชื่นชม แต่ควรใช้คำว่า “และ” เพื่อบอกว่าหากผู้นำเสนอจะทำให้ดีขึ้น
ควรทำอย่างไร เช่น พูดได้ดีมาก มีความคล่องแคล่ว ตรงประเด็น “และ
หากจะให้ดียิ่งขึ้น” ควรพูดให้ช้าลง เป็นต้น
1