Page 388 - kpi16531
P. 388
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 3 1
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตารางที่ 51: ประเภทของโครงการที่มีการกู้เงินมากที่สุด 5 อันดับ (ไม่รวมเงินกู้เพื่อเป็น
ทุนหมุนเวียนของสถานธนานุบาล) ระหว่างปี พ.ศ. 2541 – วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555
(โดยเป็นจำนวนเงินที่ได้รับการอนุมัติ และเป็นกรณีการกู้เงินจากสถาบันการเงินเท่านั้น)
จำนวนเงิน
ลำดับ ประเภทโครงการ จำนวน จำนวนเงิน ต่อโครงการ
ที่ โครงการ (ล้านบาท) (ล้านบาท)
1) โครงการจัดซื้อที่ดินและก่อสร้างอาคาร 254 6,631.28 26.11
สำนักงานและอาคารต่างๆขององค์กรปกครอง (27.88%) (22.96%)
ส่วนท้องถิ่น
2) โครงการปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 243 9,545.26 39.28
(26.67%) (33.05%)
3) โครงการจัดซื้อครุภัณฑ์ 140 1,872.96 13.38
(15.37%) (6.49%)
4) โครงการเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับตลาดสด 57 1,171.48 20.55
(6.26%) (4.06%)
5) โครงการก่อสร้างโรงฆ่าสัตว์ 43 829.43 19.29
(4.72%) (2.87%)
ที่มา: พิชิตชัย กิ่งพวง, 2556: 86
สอดคล้องกับผลการศึกษาของ ศุภชัย ศรีสุชาติ (2556) ซึ่งได้กล่าวว่า
วัตถุประสงค์หลักในการกู้ยืมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยมี 5 ประการ คือ เพื่อการพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อโครงการลงทุนที่สร้างรายได้ เพื่อก่อสร้างอาคารและ
ซื้อที่ดิน และเพื่อใช้ในการบริหารกระแสเงินสดของสถานสินเชื่อและสถานธนานุบาล ที่ผ่านมาองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นจะกู้ยืมเงินจาก 1) คณะกรรมการเงินทุนส่งเสริมกิจการเทศบาล (ก.ส.ท.),
2) กรรมการควบคุมเงินทุนสะสมขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (กสอ.) และ 3) ธนาคารและ
สถาบันการเงินต่างๆ อาทิ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ธนาคาร
กรุงไทย และกองทุนพัฒนาเมืองในภูมิภาค (กพม.) ซึ่งแหล่งเงินกู้แต่ละแห่งจะมีเงื่อนไขการให้กู้ยืม
ที่ต่างกัน เช่น ลักษณะโครงการที่ให้กู้ ระยะเวลาให้การกู้ยืมซึ่งมีทั้งระยะสั้น (ไม่เกิน 3 ปี) และ
ระยะยาว (15-20 ปี) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ วงเงินกู้ หลักประกันเงินกู้ และอัตราค่าปรับกรณีผิดนัด
ชำระหนี้
5.3.2.1.2 แหล่งกู้ยืมเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การศึกษาวิจัยครั้งนี้สำรวจว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกู้ยืมเงินจาก
แหล่งใดบ้าง ซึ่งผลการศึกษาพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกู้ยืมเงินจากกองทุนส่งเสริมกิจการ
ท้องถิ่นมากที่สุด คือ จำนวน 173 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 23 รองลงมา คือ สถาบันการเงินหรือ
ธนาคาร จำนวน 136 แห่ง หรือ คิดเป็นร้อยละ 18.1 ลำดับสาม คือ กระทรวง ทบวง กรม องค์การ
หรือนิติบุคคล จำนวน 5 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 0.7 และลำดับสี่ คือ ต่างประเทศหรือองค์การ
ต่างประเทศ จำนวน 1 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 0.1 ดังแผนภาพที่ 23