Page 96 - kpi13397
P. 96
กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ประโยชน์อันเกิดจากคำสั่งทางปกครองนั้น และหากไม่ยกเลิก
คำสั่งทางปกครองดังกล่าวแล้วก็อาจก่อให้เกิดความเสียหาย
ต่อประโยชน์สาธารณะได้ มีข้อสังเกตว่าบทกฎหมายที่
เปลี่ยนแปลงไปนี้ไม่ได้หมายถึงระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ใช้บังคับ
ภายในฝ่ายปกครอง และไม่ได้หมายถึงคำพิพากษาของศาล
ดังนั้นแม้ว่าองค์กรฝ่ายปกครองจะได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบ
ภายใน หรือศาลจะได้เปลี่ยนแปลงแนวคำพิพากษา ก็ไม่ถือว่าบท
กฎหมายเปลี่ยนไปอันจะทำให้องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมี
อำนาจในการยกเลิกคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย
ซึ่งเป็นการให้ประโยชน์ได้
๕) กรณีที่อาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะ
หรือต่อประชาชน หากไม่มีการยกเลิกคำสั่งทางปกครองนั้น เหตุ
แห่งการยกเลิกคำสั่งทางปกครองเหตุนี้ถือว่าเป็น “เหตุทั่วไป”
หรือ “เหตุกวาดกอง” ที่พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทาง
ปกครองให้อำนาจแก่องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองไว้ใช้ในยาม
ฉุกเฉิน การตีความคำว่า “ความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อ
ประโยชน์สาธารณะหรือต่อประชาชน” ซึ่งเป็นถ้อยคำที่มีความ
หมายไม่เฉพาะเจาะจงนั้น จึงต้องตีความอย่างแคบ โดยถือว่า
การใช้อำนาจยกเลิกคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย
โดยอาศัยเหตุตามมาตรานี้เป็นมาตรการสุดท้าย (ultima ratio)
ที่องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะอ้างได้
โดยเหตุที่การยกเลิกคำสั่งทางปกครองเพราะมีกฎหมายให้
อำนาจ หรือเพราะมีข้อกำหนดประกอบในคำสั่งทางปกครองระบุไว้ เป็นกรณี
ที่ไม่จำเป็นต้องคุ้มครองความเชื่อถือไว้วางใจของบุคคลผู้รับคำสั่งทางปกครอง
ในกรณีที่องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองยกเลิกคำสั่งทางปกครองโดยอาศัย
เหตุดังกล่าว องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจึงไม่ต้องชดใช้ค่าทดแทนความ