Page 95 - kpi13397
P. 95

กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง



                          กล่าวมานี้ย่อมใช้กับการยกเลิกคำสั่งทางปกครองโดยอาศัย
                          อำนาจตามกำหมายด้วย

                       ๒)  คำสั่งทางปกครองมีข้อกำหนดให้บุคคลผู้รับคำสั่งทางปกครองที่

                          ให้ประโยชน์ต้องปฏิบัติ แต่ไม่มีการปฏิบัติภายในระยะเวลาที่
                          กำหนด ข้อกำหนดให้ผู้รับคำสั่งทางปกครองต้องปฏิบัติก็คือ
                          ข้อเรียกร้องในคำสั่งทางปกครอง ซึ่งถือเป็นข้อกำหนดประกอบ
                          ในคำสั่งทางปกครองอย่างหนึ่ง  เช่น องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่าย
                                                     ๔๕
                          ปกครองอนุมัติทุนการศึกษาโดยกำหนดให้ผู้รับทุนมีหน้าที่ต้อง
                          ช่วยเหลืองานของมหาวิทยาลัยเดือนละ ๒ ครั้ง และต้องรายงาน

                          ผลการศึกษาทุกๆ ๖ เดือน แต่ปรากฏว่าผู้รับทุนไม่ปฏิบัติตาม
                          ข้อเรียกร้องดังกล่าว

                       ๓)  กรณีที่สภาพของข้อเท็จจริงและพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป

                          ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ดังกล่าวต้องถึง
                          ขนาดที่ว่าหากมีข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น
                          ในขณะทำคำสั่งทางปกครองแล้ว องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง
                          ก็คงจะไม่ทำคำสั่งทางปกครองนั้น และหากไม่มีการยกเลิกคำสั่ง
                          ทางปกครองดังกล่าวแล้วก็อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อ

                          ประโยชน์สาธารณะได้

                       ๔)  กรณีที่บทกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากมีบทกฎหมาย
                          ดังกล่าวในขณะทำคำสั่งทางปกครองแล้ว องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่าย
                          ปกครองก็คงจะไม่ทำคำสั่งทางปกครองนั้น อย่างไรก็ตามการ

                          ยกเลิกคำสั่งทางปกครองในกรณีที่บทกฎหมายเปลี่ยนแปลงไปนี้
                          องค์กรเจ้าหน้าที่จะกระทำได้ตราบเท่าที่บุคคลผู้รับคำสั่งทาง
                          ปกครองที่ให้ประโยชน์ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือยังไม่ได้รับ


                    ๔๕   ดู พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา ๓๙ วรรคสอง (๔)
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100