Page 94 - kpi13397
P. 94
กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
เหตุที่คำสั่งทางปกครองดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ให้ประโยชน์แก่บุคคลผู้รับคำสั่ง
ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยด้วยกฎหมายอีกด้วย การจะยกเลิกคำสั่ง
ทางปกครองดังกล่าวจึงต้องมีกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัด กล่าวคือจะต้องเป็นไปตาม
เหตุที่ มาตรา ๕๓ วรรคสอง วิ. ปฏิบัติ ได้บัญญัติไว้ เหตุแห่งการยกเลิก
คำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่งฯ
มีทั้งสิ้น ๕ ประการ คือ
๑) มีกฎหมายกำหนดให้ยกเลิกคำสั่งทางปกครองได้ หรือ มีข้อ
สงวนสิทธิให้ยกเลิกได้ในคำสั่งทางปกครองนั้นเอง กรณีนี้เป็น
กรณีที่องค์กรฝ่ายนิติบัญญัติตรากฎหมายมอบอำนาจให้องค์กร
ฝ่ายปกครองมีอำนาจในการยกเลิกคำสั่งทางปกครอง หรือเป็น
กรณีที่องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองตั้งข้อสงวนสิทธิในการ
ยกเลิกไว้ในคำสั่งทางปกครองนั้นเอง ณ เวลาที่ออกคำสั่ง เช่น
ออกใบอนุญาตให้ใช้พื้นที่ราชการในการตั้งร้านค้า โดยสงวนสิทธิ
ที่จะยกเลิกใบอนุญาตดังกล่าว หากทางราชการมีความจำเป็น
ต้องใช้พื้นที่นั้นในอนาคต ข้อสงวนสิทธิในการยกเลิกคำสั่งทาง
ปกครองดังกล่าวนี้เป็นข้อกำหนดประกอบในคำสั่งทางปกครอง
๔๔
ประเภทหนึ่ง อนึ่งมีข้อสังเกตว่าลำพังแต่เพียงการมีข้อสงวน
สิทธิในคำสั่งทางปกครองนั้น ยังไม่เพียงพอที่องค์กรเจ้าหน้าที่
ฝ่ายปกครองจะใช้อำนาจยกเลิกคำสั่งทางปกครองได้ทันที แต่
การใช้อำนาจตามข้อสงวนสิทธิจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์
ของการสงวนสิทธิด้วย ซึ่งหมายความต้องมีข้อเท็จจริงสนับสนุน
การใช้ดุลพินิจยกเลิกคำสั่งทางปกครองตามข้อสงวนสิทธินั้น
มิฉะนั้นแล้ว ย่อมต้องถือว่าองค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองใช้ดุล
พินิจโดยอำเภอใจ และทำให้การยกเลิกคำสั่งทางปกครอง
ดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ คำอธิบายที่
๔๔ ดู พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา ๓๙ วรรคสอง (๓)