Page 74 - kpi13397
P. 74
กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ข้าราชการ ดังนั้นแม้ไม่มีกฎหมายให้อำนาจรัฐอย่างชัดแจ้ง รัฐก็สามารถออก
คำสั่งทางปกครองในกรณีนี้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องฟ้องร้องข้าราชการผู้นั้น
ต่อศาลเพื่อบังคับการตามสิทธิเรียกร้องของตน อย่างไรก็ตามข้าราชการผู้ได้
รับคำสั่งทางปกครองให้ชำระเงินเดือนที่จ่ายเกินไปอาจอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่ง
ทางปกครองดังกล่าวได้
๓.๓ ความถูกต้องของการใช้ดุลพินิจ ๔๐
ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมี
ดุลพินิจ องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมีหน้าที่ต้องใช้ดุลพินิจให้ถูกต้อง
๔๐ ในระบบกฎหมายไทยมีบางกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ใช้อำนาจสั่งการทาง
ปกครองต้องผูกพันกับคำวินิจฉัยขององค์กรทางปกครองในระดับที่สูงกว่าและออก
คำสั่งไปตามนั้น เช่น ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ ๑๙๔/
๒๕๔๙ ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ให้ความเห็นไว้ว่า “แม้พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติ
ราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ จะกำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองเป็น
ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งที่ตนทำขึ้น โดยกรณีที่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์
ก็สามารถเปลี่ยนแปลงคำสั่งตามความเห็นของตนได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง
ประกอบกับมาตรา ๔๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว แต่การใช้อำนาจ
พิจารณาอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติ
ราชการทางปกครองฯ นั้น เจ้าหน้าที่ต้องผูกพันตามแนวทางการใช้ดุลพินิจหรือการ
วินิจฉัยของผู้บังคับบัญชาหรือองค์กรผู้กำกับดูแลการใช้อำนาจดังกล่าวด้วย
กรณีที่หารือมานี้ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
สิงห์บุรีได้มีคำสั่งให้นายม้วน ดีรอด ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน ๗๔,๐๑๖.๓๕
บาท แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งเป็นการดำเนินการตามความเห็นของ
กระทรวงมหาดไทยที่ได้ตรวจสอบสำนวนการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดฯ
และวินิจฉัยสั่งการในฐานผู้กำกับดูแลให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดปฏิบัติตามที่เห็นว่า
๔๐
ถูกต้อง โดยถือปฏิบัติตามข้อ ๓๘ ประกอบกับข้อ ๑๘ ของระเบียบสำนักนายก
๔๐
รัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งใช้บังคับโดยอนุโลมกับหน่วยงานของรัฐที่เป็นราชการส่วนท้องถิ่น
๔๐
ทั้งนี้ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๙ และคำสั่ง
กระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ๔๐