Page 73 - kpi13397
P. 73

กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง



                 อำนาจออกคำสั่งทางปกครอง ทั้งนี้โดยกฎหมายฉบับนั้นจะต้องได้รับการ
                 บัญญัติให้เห็นเนื้อหาของการกระทำขององค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองได้อย่าง
                 ชัดเจนเพียงพอในลักษณะที่องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองใช้อำนาจในฐานะ
                 ที่เหนือกว่าเอกชนปฏิบัติภารกิจทางปกครอง (ทั้งนี้เป็นไปตามหลักไม่มี
                 กฎหมาย ไม่มีอำนาจ) เนื้อหาของการกระทำทางปกครองที่กล่าวถึงนี้ หมายถึง
                 กรณีที่กฎหมายกำหนดหน้าที่ให้เอกชนต้องปฏิบัติและองค์กรเจ้าหน้าที่

                 ฝ่ายปกครองเป็นองค์กรที่มีอำนาจฝ่ายเดียวบังคับการให้เป็นไปตามหน้าที่นั้น

                          โดยอาศัยหลักเกณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้น ในกรณีที่องค์กรเจ้าหน้าที่
                 ฝ่ายปกครองจะดำเนินการบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากสัญญาทาง

                 ปกครอง องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองย่อมไม่อาจใช้คำสั่งทางปกครองเป็น
                 เครื่องมือในการดำเนินการได้ ได้แต่แสดงเจตนาใช้สิทธิเรียกร้องหรือฟ้องร้อง
                 คู่สัญญาฝ่ายเอกชนเป็นจำเลยต่อศาล เพราะโดยสภาพของเรื่องแล้ว องค์กร
                 เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอยู่ในฐานะเป็นคู่สัญญา ไม่ได้อยู่ในฐานะที่เหนือกว่า
                 คู่สัญญาฝ่ายเอกชน เว้นแต่จะมีกฎหมายให้อำนาจองค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่าย

                 ปกครองบังคับการตามสัญญาทางปกครองโดยอาศัยคำสั่งทางปกครองเป็น
                 เครื่องมือได้

                          ในส่วนของการบังคับการตามสิทธิเรียกร้องอันเกิดจาก

                 นิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับข้าราชการนั้น อาจเป็นปัญหาให้อภิปรายได้ว่าใน
                 กรณีที่รัฐมีสิทธิเรียกร้องบางประการจากข้าราชการ รัฐสามารถออกคำสั่ง
                 ทางปกครองบังคับแก่ข้าราชการได้หรือไม่ หากไม่มีกฎหมายกำหนด
                 เครื่องมือในการบังคับการตามสิทธิเรียกร้องนั้นอย่างชัดแจ้ง เช่น รัฐจ่ายเงิน
                 เดือนให้ข้าราชการเกินกว่าที่ข้าราชการผู้นั้นพึงได้รับ หากข้าราชการผู้นั้น
                 ไม่ยินยอมคืนเงินเดือนส่วนที่ได้รับเกินไป รัฐจะต้องฟ้องร้องเรียกเงินคืนหรือ
                 สามารถออกคำสั่งทางปกครองเรียกเงินคืนจากข้าราชการผู้นั้นได้ กรณีนี้

                 ผู้เขียนมีความเห็นว่านิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับข้าราชการเป็นนิติสัมพันธ์ที่มี
                 ลักษณะพิเศษ อำนาจในการออกคำสั่งทางปกครองบังคับแก่ข้าราชการของ
                 ตนต้องถือว่าเป็นอำนาจเฉพาะอันเกิดจากนิติสัมพันธ์พิเศษระหว่างรัฐกับ
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78