Page 14 - kpi13397
P. 14
กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
บังคับแก่กรณีไม่ได้ แต่จะต้องใช้กฎเกณฑ์ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติ
ราชการทางปกครองแทน
คำว่า “หลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรม” หมายถึง หลักเกณฑ์ที่
พิจารณาจากมุมมองของผู้ที่จะต้องตกอยู่ภายใต้บังคับคำสั่งทางปกครอง
ตลอดจนในทางภาวะวิสัยแล้ว เป็นหลักเกณฑ์จะทำให้บุคคลดังกล่าวมีโอกาส
ต่อสู้ป้องกันสิทธิของตน หรือเรียกร้องให้มีการบังคับตามสิทธิของตนได้ใน
ฐานะที่ตนเป็นประธานแห่งสิทธิ ไม่ใช่วัตถุที่รัฐมุ่งกระทำต่อ เช่น ใน
กระบวนการสอบสวนความผิดทางวินัย (ซึ่งเป็นกระบวนพิจารณาเรื่องทาง
ปกครอง) ก่อนทำคำวินิจฉัยจะต้องมีการแจ้งสรุปข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ให้
๕
คู่กรณีทราบก่อน ดังนี้ถือว่าเป็นกรณีที่กฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการสอบสวน
ความผิดทางวินัยมีหลักเกณฑ์ประกันความเป็นธรรมไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่
กำหนดในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ซึ่งกำหนดเฉพาะ
สิทธิขอตรวจดูเอกสารที่เกี่ยวกับตนเท่านั้น องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง
๖
จึงต้องใช้กฎเกณฑ์ที่ได้รับการบัญญัติไว้ในกฎหมายเฉพาะในเรื่องนั้น คือ
จะต้องแจ้งสรุปข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ให้คู่กรณีทราบก่อน อย่างไรก็ตาม
ในกระบวนการสอบสวนความผิดทางวินัย มีกฎเกณฑ์อยู่ข้อหนึ่งกำหนดว่า
ในการสอบปากคำผู้ถูกกล่าวหา ห้ามมิให้บุคคลอื่นอยู่ในที่สอบสวน เว้นแต่
บุคคลที่คณะกรรมการสอบสวนอนุญาตให้อยู่ในที่สอบสวนเพื่อประโยชน์แห่ง
การสอบสวน ดังนี้คณะกรรมการสอบสวนจะนำเอากฎเกณฑ์ดังกล่าวไปใช้
๗
ห้ามบุคคลที่ถูกกล่าวหามิให้นำทนายความหรือที่ปรึกษาเข้ามาในการ
สอบสวนไม่ได้ เพราะพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา
๒๓ บัญญัติให้คู่กรณี (ในที่นี้ คือ บุคคลที่ถูกกล่าวหา) มีสิทธินำทนายความ
๕ ดู ข้อ ๑๒ วรรคสาม กฎ ก.พ. ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๑๘) ออกตามความใน
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘
๖ มาตรา ๓๑ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
๗ ข้อ ๒๑ กฎ ก.พ. ฉบับที่ ๑๘ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราช
บัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕